“ท้อง” เป็นเรื่องที่น่ายินดีสาหรับคู่สมรส ที่จะมีทายาทเป็นพยานรักของทั้งคู่ มีปู่ย่าตายายล้อมหน้าล้อมหลัง อยากเห็นหน้าเจ้าตัวน้อยไวๆ แต่ถ้าลองเปลี่ยนคู่สมรสคู่นั้น เป็นเด็กนักเรียนมัธยม สองคน ที่บังเอิญไม่ได้ป้องกัน “ท้อง” เหมือนกัน แต่ไม่มีใครยินดีเลย
ตัวอย่างที่กล่าวมานั้นเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมไทยซึ่งถูกนิยามว่า “ท้องในวัยรุ่น” และคน ที่สังคมไทยมองว่าเป็นตัวก่อปัญหา ก็คือวัยรุ่นทั้งหลายที่กาลังจะเป็นพ่อแม่วัยใส หลายปีมานี้มี การกล่าวโทษเหยียดหยาม และตั้งคาถามกับวัยรุ่นเหล่านั้น “คิดจะทา ทาไมไม่ป้องกัน?” “ไม่คิดถึงพ่อแม่เลยหรือ?” บางคาถามก็เลยเถิดไปจนถึง “ขนาดเรียนยังไม่จบเลย จะเลี้ยงลูกได้อย่างไร?” ก็ต้องยอมรับ คากล่าวและคาถามเหล่านี้มีข้อเท็จจริงอยู่ในนั้น เพราะเป็นเรื่องยากพอตัว กับการที่วัยรุ่นสองคนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ยังเรียนอยู่ ยังไม่มีงานทา ยังต้องใช้เงินจากพ่อแม่ จะสามารถดูแลอีกหนึ่งชีวิตให้มีอนาคตที่ดีไปพร้อมๆกับตัวเอง และเท่าที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน วัยรุ่นหลายคู่มีชีวิตเบี่ยงเบนไปจากที่ตัวเองฝัน ลูกน้อยเกิดมาพร้อมกับความไม่เต็มใจ เติบโตเป็นประชากรที่ขาดคุณภาพเพราะขาดโอกาสหลายอย่างที่เขาพึงได้รับ ยังผลให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย ได้แก่ ปัญหาทางการศึกษา, ปัญหาอาชญากรรม, ปัญหายาเสพติด และแน่นอนว่าจะเกิดปัญหา “ท้องวัยรุ่น” ต่อไป วนเวียนเป็นวงจรที่ไม่จบสิ้น
แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร? ด่านแรกของการป้องกันก็คือ “ตัววัยรุ่นเอง” ต้องมีการเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิต ตั้งแต่การรู้จักคุณค่าและความสาคัญของตนเอง ไม่นาร่างกายไปแลกกับ ความรัก การมีทักษะในการตัดสินใจและปฏิเสธในสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยง หากมีความต้องการทางเพศ ต้องรู้จักแสดงออกทางความคิดนั้นอย่างเหมาะสม ซึ่งเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ต้องสมัครใจทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พร้อม ต้องยอมรับการตัดสินใจนั้น แต่หากยินยอมพร้อมใจทั้งคู่แล้ว ต้องตระหนักเสมอว่า ถ้าอยากมีก็ต้องป้องกันให้เป็น บางคนอาจคิดว่าการป้องกันนั้นไม่สาคัญ เพราะคงไม่โชคร้ายท้องขึ้นมา แต่จากสถิติพบว่าสาเหตุที่วัยรุ่นตั้งครรภ์นั้น 61%1 มาจากการไม่คุมกาเนิด ส่วนที่เหลือคือการคุมกาเนิดที่ไม่ถูกวิธีหรือไม่สม่าเสมอ จากตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นว่าการเริ่มต้นด้วยเรื่องง่าย ๆ คือการคุมกาเนิด ก็สามารถป้องกันปัญหานี้ได้อย่างชะงัด ส่วนวิธีการคุมกาเนิดที่ได้ประสิทธิภาพนั้น มีให้เลือกมากมาย ไม่ใช่แค่ถุงยางอนามัยหรือยาเม็ดคุมกาเนิดเท่านั้น แต่ยังมีแผ่นแปะคุมกาเนิด, การใส่ห่วงอนามัย และการฝังยาคุม ซึ่งปัจจุบันสามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ง่ายมาก
ด่านที่สองคือสถาบันที่วัยรุ่นทุกคนมี ก็คือ “ครอบครัว” การป้องกันจากสถาบันครอบครัวนั้นเป็นการป้องกันที่สร้างสรรค์และเป็นเกราะป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นสถาบันหลักที่อยู่ใกล้ชิดกับวัยรุ่น ถ้าครอบครัวมีการยอมรับว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือเป็นเรื่องผิด และเปิดกว้างด้านนี้กับลูกมากขึ้น ครอบครัวจะเป็นกาลังหลักในการให้คาปรึกษาและแนะนาเรื่องเพศได้อย่างเหมาะสมและเข้าถึงลูกๆของเขา
ด่านที่สาม คือ “สถาบันการศึกษา” ซึ่งเป็นโลกอีกโลกหนึ่งของวัยรุ่น ที่พวกเขาจะได้แสดงตัวตนออกมาได้เต็มที่ บุคคลที่มีอิทธิพลในโลกนี้ของพวกเขา ก็คือคุณครูและกลุ่มเพื่อน คุณครูสามารถให้ความรู้ สุขศึกษาที่ถูกต้อง สอนให้เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงทางสรีระร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น รวมไปถึงการจัดการ กับอารมณ์ความรู้สึกทางเพศอย่างเหมาะสม ซึ่งไม่ปิดกั้น ไม่ห้ามการมีเพศสัมพันธ์ แต่นักเรียนต้องรับผิดชอบชีวิตตนเองด้วยการคุมกาเนิดและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้คุณครูควรให้ช่องทางการช่วยเหลือและการให้คาปรึกษาที่ไว้ใจได้ สาหรับกลุ่มเพื่อนนั้น มีผลอย่างมาก ต่อวัยรุ่น อาจจะมากพอๆกับครอบครัวเลยก็ได้ เพราะเพื่อนจะส่งผลถึงทัศนคติ และหล่อหลอมความคิด เขาอย่างช้าๆ ดังนั้นการที่กลุ่มเพื่อนมีค่านิยมเรื่องเพศ ไปในทางที่ถูกต้อง สามารถตักเตือนเพื่อนได้ ก็ช่วยลดปัญหาท้องในวัยรุ่นไปได้มาก
ด่านที่สี่คือ “ภาครัฐ” รัฐจาเป็นที่จะต้องมีการวางโครงสร้างของการศึกษาที่ดีเพื่อนาไปสู่รากฐานการใช้ชีวิตในอนาคตของวัยรุ่น ต้องทาให้พวกเขาเหล่านั้นเข้าใจในพื้นฐานเพศศึกษาจากโครงสร้างของระบบการศึกษา และการศึกษาเหล่านั้นต้องเข้าถึงในทุกๆภาคส่วน ไม่ใช่แค่กระจุกอยู่ตามความเจริญ การวางระบบสาธารณสุขที่ดีจากทางรัฐก็เป็นปัจจัยสาคัญที่ช่วยป้องกันปัญหานี้ได้ อาจเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าไปเสริมความรู้ความเข้าใจให้แก่วัยรุ่นในสถานศึกษารวมถึงในชุมชน โดยเน้นย้าเรื่องการคุมกาเนิดอย่างถูกวิธี ซึ่งทางสาธารณสุขเองมีบริการที่หลากหลายและเป็นมิตร โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น การแจกถุงยางอนามัยสาหรับประชาชนทั่วไป ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล(สถานีอนามัย) และโรงพยาบาลของรัฐ หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือการฝังยาคุมกาเนิด ซึ่งทางโรงพยาบาลรัฐมีบริการฝังยาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สาหรับหญิงอายุ 10-20 ปี มีข้อดีคือประสิทธิภาพการป้องกันการตั้งครรภ์ใกล้เคียงกับ
การทาหมัน2 และคงอยู่ได้นานถึง 3-5 ปี แล้วแต่ชนิด โดยในปัจจุบันมีผู้เข้ารับบริการจานวนมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามหากยังไม่แน่ใจว่าจะคุมกาเนิดด้วยวิธีใด ก็สามารถเข้ารับคาปรึกษาการคุมกาเนิด โดย สูติ-นรีแพทย์ ที่โรงพยาบาลของรัฐ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและสามารถไว้ใจได้ว่าจะเป็นความลับ การประชาสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมก็เช่นกัน วัฒนธรรมที่มาจากทางรัฐควรเป็นสิ่งที่ยืดหยุ่นปรับตัว ไปตามยุคสมัย มิเช่นนั้นอาจทาให้เกิดปัญหาโดยไม่ทันคาดคิด เช่น การปกปิดเรื่องเพศว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรพูดคุย จนเกิดความไม่เข้าใจในเรื่องเพศศึกษาของกลุ่มวัยรุ่น และด่านสุดท้าย “สังคม” ที่สามารถเป็นได้ทั้งเกราะป้องกันหรือคมดาบทิ่มแทง ถ้าหากสังคมนั้นเป็นสังคมที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยความรักความเข้าใจจากบุคคลที่มีคุณภาพ ครอบครัวที่อบอุ่น และมีการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเพียงพอ สังคมนั้นก็จะเป็นสังคมที่ดี แต่กลับกันหากสังคมนั้นเต็มไปด้วยความไม่เข้าใจ ไม่มีการให้อภัยหรือให้โอกาส สังคมนั้นสามารถแปรเปลี่ยนเป็นคมดาบที่ค่อยซ้าเติมทิ่มแทง และทาให้ปัญหาบานปลายไม่จบสิ้น
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าปัญหาการท้องในวัยรุ่นนั้นไม่ใช่เป็นแค่เพียงปัญหาของคนสองคน แต่เป็น “ปัญหาของสังคม” ที่ไม่อาจป้องกันได้ด้วยบุคคลเพียงไม่กี่คน แต่ต้องร่วมมือป้องกันในระดับสังคม ซึ่งรวมไปด้วย บุคคล ครอบครัว สถาบันการศึกษา และภาครัฐ อาจต้องใช้เวลาและกระบวนการ หลายขั้นตอนกว่าการป้องกันปัญหานี้จะบรรลุผลสาเร็จ แต่หากมีความตระหนักในสังคมว่า มันคือปัญหา ที่สามารถป้องกันได้จริงและเป็นความรับผิดชอบของสังคมที่ต้องช่วยกัน ปัญหาท้องในวัยรุ่นจะลดลง อย่างแน่นอน
ทีมบูรพา
วิสุทธิพงศ์ เศวตประสาธน์
อรัชพร เจียมจรรยา
แหล่งอ้างอิง : 1 สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2 Contraception | Reproductive Health | CDC [Internet]. Cdc.gov. 2017 [cited 20 November 2018]. Available from: https://www.cdc.gov/reproductivehealth/contraception/index.htm