การรังแกกัน คืออะไร?

การรังแกกัน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานในสังคมรั้วโรงเรียน จนบางครั้ง คนที่อยู่ในสังคมโรงเรียน อย่างเราเอง ก็อาจคิดไม่ถึงว่า การกระทำบางครั้งของเพื่อนร่วมชั้น ร่วมห้อง หรือแม้แต่เพื่อนสนิทที่ใกล้ชิดกับตัวเราเองนั้น ก็เป็นการรังแกด้วย

แล้วรู้หรือไม่ว่า ยังมีนักเรียนในโรงเรียนบางคน ได้รับผลกระทบเพราะการรังแก จนไม่สามารถมาโรงเรียนได้อย่างมีความสุขเหมือนคนอื่นๆ ชึ่งในบทความนี้เลิฟแคร์จะพาไปรู้จักว่า การรังแกกันคืออะไร พร้อมแล้วไปกันเลย

พฤติกรรมการรังแก หมายถึง การแสดงออก หรือการกระทำในลักษณะที่รุนแรง โดยมีจุดมุ่งหมายในการทำร้ายจิตใจ โดยวิธีต่างๆ เช่น บังคบ ขู่เข็ญ คุกคาม ทุบตี ล้อเลียน กีดกันออกจากสังคม หรือจำกัดเสรีภาพ จิตใจ เนื่องจากผู้รังแกมีเจตนาทำร้ายทั้งทางร่างกาย หรือจิตใจ ทำให้พฤติกรรมการรังแก ถือเป็นความรุนแรงรูปแบบหนึ่ง

การรังแกต่างจาก หยอกเล่น และ การทะเลาะยังไง???

การรังแก เป็นการกระทำที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่าย โดยที่อีกฝ่ายไม่สามารถตอบโต้ได้ และเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กระทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จึงจะเรียกว่าเป็นการรังแก หรือในบางกรณีการกระทำครั้งเดียวแต่มีผลกระทบกับผู้ถูกกระทำ ก็ถือว่าเป็นการรังแก

สำหรับการหยอกเล่น อันนี้อาจจะดูยากไปนิด ต้องใช้การสังเกตความรู้สึกของคนถูกหยอกเล่น รวมถึงความสนิทสนมพวกเขาด้วยนะ เล่น คือ ต้องสนุกทั้งสองฝ่าย (แต่ถ้าฝ่ายใดผ่ายหนึ่งไม่สนุกด้วย ก็ถือเป็นการรังแก โดยใช้ความรู้สึกของคนถูกกระทำเป็นตัววัด) ส่วนการทะเลาะ ทั้งสองฝ่ายจะอยู่ในสถานะที่ตอบโต้กันได้

การรังแก สามารถแยกออกมาได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่

  1. การรังแกทางร่างกาย (Physical stopbullying) เช่น การต่อย ตี ผลัก สัมผัสบริเวณที่ไม่เหมาะสม
  2. การรังแกทางวาจา(Verbal stopbullying) เช่น การพูดเสียดสี การพูดจาล่วงละเมิด การล้อเลียน การแสดงความคิดเห็นในเชิงลบต่อบุคคลอื่นๆ เช่น้เรื่องรูปร่างหน้าตา
  3. การรังแกทางสังคม(Rerational stopbullying) เช่น การปล่อยข่าวลือด้านลบของคนอื่น กีดกันเพื่อนออกจากกลุ่ม เมินเฉยต่อผู้อื่น
  4. การรังแกกันบนสื่อออนไลน์  (Cyber stopbullying) เช่น การปลอมโปรไฟล์ การโพสข้อความโจมตีผู้อื่นเป็นต้น

ทีนี้พอรู้กันบ้างแล้วว่าการรังแกคืออะไร ลองสังเกตดูว่า ที่เราเล่นกับพื่อนทุกวันเนี่ย ใช่การรังแกกันรึเปล่า ติดตามเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับการรังแกได้ที่ เลิฟแคร์สเตชั่น

ขอบคุณข้อมูลจาก

นวิยา นิยมธรรม.ศึกษาพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายถึงระดับชั้นมัถธยมศึกษาตอนต้นในประเทศญี่ปุ่นกรณีศึกษาผู้ถูกรังแก.ปริญญานิพนธ์,สาขาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2558.

คณะผู้วิจัย.การรังแกต่อกลุ่มนักเรียนที่เป็นหรือถูกมองว่าเป้นคนข้ามเพสหรือคนรักเพสเดียวกัน ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา : รูปแบบ ความชุก ผลกระทบ แรงจูงใจ และมาตรการการป้องกัน ใน 5 จังหวัดของประเทศไทย. องค์การยูเสโก Plan International และมหาวิทยาลัยมหิดล.