เมื่อตัดสินใจท้องต่อ สิ่งที่ควรทำคือไปรับบริการฝากท้องที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจร่างกาย รับวัคซีน ตรวจดูพัฒนาการทารก และ รับยาบำรุง เพื่อการคลอดที่ปลอดภัยและทารกที่แข็งแรง
การจัดการเองเรียนโรงเรียนส่วนใหญ่ในประเทศไทยยังไม่มีประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน/นักศึกษาที่ท้อง รวมทั้งการสร้างบรรยากาศที่ให้นักเรียนท้องไม่รู้สึกกดดันและอับอาย แต่กระทรวงศึกษาธิการ ก็ไม่มีนโยบายให้นักเรียนท้องต้องออกจากการศึกษา
• หากกำลังศึกษาอยู่ จัดการเรื่อง ขอพักเรียน ขอเข้าสอบ เพื่อให้ไม่กระทบการเรียนและให้มีความต่อเนื่อง
• หากถูกละเมิดสิทธิให้ออกจากโรงเรียน ให้ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานด้านสิทธิ
• ปัจจุบันมีโรงเรียนที่รับลงทะเบียนให้นักเรียนที่ท้องไม่พร้อมเข้าเรียนต่อเนื่องได้ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากรณีถูกปฎิเสธการศึกษา
การจัดการเรื่องการทำงาน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 43 กฎหมายกำหนด ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะมีเหตุมีครรภ์ นายจ้างซึ่งฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าว นายจ้างมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามความมาตรา 144 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
• หากถูกละเมิดสิทธิให้ออกจากโรงเรียน ให้ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานด้านสิทธิ
• ปัญหาอาจมีมากกว่านั้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ทำงานอาจสร้างความกดดันได้ด้วยสาเหตุต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ตัดสินใจท้องต่อต้องเผชิญด้วยความเข้มแข็งและมั่นคง
เมื่อตัดสินใจท้องต่อ การดูแลเด็กในระยะยาวคือวาระชีวิตของผู้หญิง เราควรแสวงหาความช่วยเหลือที่เป็นไปได้จากครอบครัว ญาติ เพื่อน หรือบุคคลใกล้ตัว หรือแหล่งบริการต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือ เพราะชีวิตมีทางเลือกเสมอ
• หากไม่มีครอบครัวหรือคนใกล้ชิดยอมรับและให้การดูแลช่วยเหลือระหว่างตั้งท้อง คลอด และหลังคลอด สามารถติดต่อขอรับบริการบ้านรอคลอดได้
• หลังคลอดต้องการความช่วยเหลือเลี้ยงดูเด็กชั่วคราว สามารถติดต่อหน่วยงานที่มีบริการเลี้ยงดูเด็กหรือบริการครอบครัวอุปถัมภ์ได้
• การเลี้ยงดูเด็กในระยะยาว สามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือด้านอาชีพและสังคมสงเคราะห์ หรือ เข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนต่างๆ
• ในที่สุด.. หากพบว่าตนเองไม่พร้อมที่จะดูแลเด็กในระยะยาว สามารถติดต่อหน่วยงานเพื่อหาผู้อุปการะบุตรบุญธรรมได้