ปรึกษาสุขภาพจิตฟรี ผ่านช่องทางออนไลน์

สุขภาพกายต้องดูแล สุขภาพใจก็เช่นกัน ช่วงนี้ วัยรุ่นหลายคนต้องเจอปัญหารุมเร้า ส่วนหนึ่งอาจมาจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ส่งผลกระทบมากมายต่อการเรียน ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว/เพื่อน/แฟน การใช้ชีวิตประจำวัน รายได้ ฯลฯ จนหลายคนเกิดความเครียด ความวิตกกังวล หรืออาจมีภาวะซึมเศร้า แต่ก็ไม่รู้จะคุยกับใครดี กังวลว่าจะเป็นความลับไหม จะไปหาหมอก็ยังไม่พร้อม ไม่อยากเดินทาง ไม่อยากไป รพ.  เลิฟแคร์จึงรวบรวมช่องทางปรึกษาทางออนไลน์มาฝากน้องๆ ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชัน Facebook line และเว็บไซต์ เพื่อเป็นตัวช่วยในการดูแลสุขภาพใจ แบบไม่ต้องเสียเงิน เข้าถึงง่าย และเป็นความลับด้วย

แอปพลิเคชัน

1.Mental Health Check up

แอปพลิเคชั่นของกรมสุขภาพจิต ที่ช่วยให้เราสามารถประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง และคัดกรองความเสี่ยงต่อปัญหาจิตเวช  เช่น ความเครียด ภาวะซึมเศร้า ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ภาวะติดสุรา ภาวะสมองเสื่อม ภาวะติดเกม ภาวะหมดไฟในการทำงาน พลังสุขภาพจิต (RQ)  และดัชนีวัดความสุข หลังจากทำประเมินเสร็จแล้วจะมีคำแนะนำในการดูแลสุขภาพจิตให้ด้วย

Android on Google Play : คลิกที่นี่เพื่อ Download

ios on Apple store         : คลิกที่นี่เพื่อ Download

 

2.DeeTorJai

            แอปที่ช่วยบันทึกเหตุการณ์และอารมณ์ ความรู้สึกของเราในแต่ละวัน เราสามารถบันทึกเหตุการณ์ ความคิด พฤติกรรม อาการทางร่างกาย และอารมณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนั้น พร้อมกับกับเลือกระดับอารมณ์ (1-10) และสามารถดูผลวิเคราะห์หรือติดตามอารมณ์ของเราได้ในแต่ละวัน แต่ละเดือนในรูปแบบ chart ต่างๆ ได้ด้วย

Android on Google Play : คลิกที่นี่เพื่อ Download

ios on Apple store         : คลิกที่นี่เพื่อ Download

4.APPEER

            แอปที่ให้บริการปรึกษาสุขภาพจิตฟรี มีแบบประเมินตนเองเบื้องต้น บทความสุขภาพจิตออนไลน์ ข้อมูลต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้ที่อยู่กับโรคจิตเวชสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยความร่วมมือของสมาคมสายใยครอบครัวร่วมกับ รพ.ศรีธัญญา และมูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย (รองรับเฉพาะ Android)

Android on Google Play : คลิกที่นี่เพื่อ Download

ios on Apple store         : ไม่มีบริการ

5.SabaiJai

แอปที่ช่วยป้องกันและช่วยเหลือคนที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง ในแอปจะมีหลายเมนู ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการฆ่าตัวตาย สัญญาณเตือน การป้องกันการฆ่าตัวตาย บทความให้กำลังใจ คำคมโดนใจ มีแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการพยายามทำร้ายตนเอง (9 ข้อ) มีเมนูสำหรับบันทึกชื่อและเบอร์คนที่เราอยากคุยไว้เพื่อโทรหาเวลาไม่สบายใจได้ทันที หรือจะกดโทรหาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็ได้เลย ระหว่างที่ใช้แอปจะมีเสียงดนตรีธรรมชาติคลอตลอดด้วย (ปิดได้นะจ๊ะ) พัฒนาโดยภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

Android on Google Play : คลิกที่นี่เพื่อ Download

ios on Apple store         : คลิกที่นี่เพื่อ Download 

6.SATI

แอปสำหรับคนที่อยากหาคนรับฟังเรื่องราวที่ไม่สบายใจ หรือระบายความเครียด โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิด แต่เป็นการฟังด้วยใจจากอาสาสมัครหัวใจมีหูที่ผ่านการอบรมจากกรมสุขภาพจิต

Android on Google Play : คลิกที่นี่เพื่อ Download

ios on Apple store         : คลิกที่นี่เพื่อ Download

7.Alljit

แอปที่ให้การปรึกษา พูดคุยสุขภาพจิตใจ ฟรี เน้นการปรับมุมมองความคิดและให้บริการปรึกษาปัญหาชีวิตในเรื่องต่างๆ เราสามารถเลือกได้ว่าอยากเป็นผู้ระบาย หรือ ผู้รับฟัง ในพื้นที่แบ่งปันกำลังใจ  หรือจะโพสต์เรื่องราวของตัวเองแชร์กับเพื่อนๆ คนอื่นๆ หรือจะเลือกคุยกับแอดมินเพื่อรับการปรึกษาก็ได้ สามารถทำแบบประเมินความเครียด ภาวะซึมเศร้า ภาวะหมดไฟในการทำงาน รวมถึงค้นหาโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้เราเพื่อพบจิตแพทย์ นอกจากนี้ยังมีบทความ ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพใจให้อ่านกัน

Android on Google Play : คลิกที่นี่เพื่อ Download 

ios on Apple store         : คลิกที่นี่เพื่อ Download 

Facebook

 1323 ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต ปรึกษาได้ 24 ชั่วโมง

Facebook fanpage : เข้าสู่หน้าเพจ 

The Samaritans of Thailand สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่เวลา 00-22.00 น. ทุกวัน

Facebook fanpage : เข้าสู่หน้าเพจ 

Depress We Care ซึมเศร้า เราใส่ใจ เพจให้คำปรึกษาของ รพ.ตำรวจ ให้คำปรึกษา คำแนะนำ การสังเกตตัวเองและคนรอบข้างที่อาจมีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า

Facebook fanpage : เข้าสู่หน้าเพจ 

Lovecare station ให้บริการปรึกษาปัญหาวัยรุ่น รวมทั้งปัญหาสุขภาพจิตฟรี เวลา 00-20.00 น.

Facebook fanpage : เข้าสู่หน้าเพจ

Line Official

1.@Khuikun

       

บริการให้การปรึกษาสุขภาพจิตเบื้องต้น เพื่อป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ด้วยแชทบอทตอบคำถามแบบ real time สามารถคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ด้วย ตั้งแต่เวลา 8.00-24.00 น. หลังเวลาจะเป็นระบบอัตโนมัติ ทำแบบคัดกรองด้วยตัวเอง เช่น ความเครียด ภาวะซึมเศร้า ประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย พัฒนาโดย รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต คลิกเพื่อเป็นเพื่อนกับ @Khuikun

2.@lovecarestation

          

บริการปรึกษาปัญหาวัยรุ่นฟรี ทั้งเรื่องการคุมกำเนิด ท้องไม่พร้อม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความรักความสัมพันธ์ ถูกรังแก และสุขภาพจิต โดยเจ้าหน้าที่ให้การปรึกษา ตั้งแต่เวลา 12.00-20.00 น. สามารถทำแบบประเมินภาวะซึมเศร้า และค้นหาสถานพยาบาลที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น คลิกเพื่อเป็นเพื่อนกับ @lovecarestation

 

เว็บไซต์

1.www.blissiam.com

ใครที่ไม่สะดวกโหลดแอพ หรือปรึกษาทางโทรศัพท์ สามารถลือกปรึกษาผ่านการแชทบนเว็บไซต์แทนก็ได้  โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถเลือกได้ว่าจะเป็นผู้ระบายหรือผู้รับฟัง เข้าสู่หน้าเว็บ 

2.www.psysiam.com

         จิตวิทยาสยาม ให้บริการปรึกษาโดยนักจิตวิทยา “รับฟัง เข้าใจ ไม่ใช้ยา” และมีสายด่วนปรึกษาแพทย์ มีทั้งให้บริการแบบฟรีและแบบมีค่าใช้จ่าย ให้บริการฟรีสำหรับนิสิต นักศึกษา ที่มีฐานะยากจน และมีความจำเป็นเร่งด่วน ผ่านวิดีโอคอล โทรศัพท์ และแชท ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00 – 16.00 น. แต่จะจำกัดจำนวนแต่ละเดือน สามารถเช็คผ่านหน้าเว็บไซต์ เข้าสู่หน้าเว็บ

3.www.lovecarestation.com

         เว็บไซต์ที่ให้บริการปรึกษาปัญหาวัยรุ่น หลากหลายประเด็น ตั้งแต่เรื่องเพศ คุมกำเนิด ท้องไม่พร้อม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สัมพันธภาพ และสุขภาพจิต ผ่านการแชท และพร้อมส่งต่อหรือแนะนำหน่วยบริการที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น เพื่อเข้าสู่การรักษาหรือพบกับผู้เชี่ยวชาญ ให้บริการตั้งแต่ 16.00-24.00 น. ฟรี

การปรึกษาสุขภาพจิตทางออนไลน์ อาจจะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้น หรือประเมินอาการเบื้องต้นได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถทดแทนการพบจิตแพทย์ได้ ดังนั้น หากมีอาการที่รุนแรง หรือสงสัยในอาการที่เป็นอยู่ ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและรับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อสุขภาพใจที่ดีของเรา คลิกเพื่อเข้าสู่เว็บ 

เครดิต : พี่เลิฟแคร์