ยาสตรี
ยาสตรี คือ ยาสมุนไพรโบราณที่สามารถใช้บำรุงและขับเลือด เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของรอบเดือนที่มาไม่ตรงตามกําหนด ตัวยาจะมีส่วนผสมของ ฮอร์โมน estrogen progesterone ซึ่งมีหน้าที่กระตุ้นเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาขึ้น หลังจากหยุดยา 2-3 วัน ประจำเดือนก็มาตามปกติ แต่สำหรับคนท้อง ฮอร์โมนตัวนี้จะสร้างออกมาเองอยู่แล้ว ดังนั้นการทานยาสตรีก็ไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ [1]
ยาเลื่อนประจำเดือน
อีกทางเลือกที่ผู้หญิงอาจเข้าใจผิดว่าสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้คือ ยาเลื่อนประจำเดือน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Noraethisterone ยาตัวนี้ควรใช้เมื่ออยากเลื่อนประจําเดือนเท่านั้น เพราะไม่สามารถป้องกันหรือหยุดการตั้งครรภ์ได้ ถ้าจะกินต้องกินในปริมาณ 5 mg. 3 ครั้งต่อวัน 3-4 วันก่อนประจําเดือนจะมา เมื่อหยุดยาไป 3-4 วัน ประจำเดือนจะกลับมาเหมือนปกติ [2,3]
ถ้ายาสตรีและยาเลื่อนประจำเดือนไม่สามารถทำแท้งได้ แล้วแพทย์ต้องใช้ยาอะไรเพื่อยุติการตั้งครรภ์?
ยายุติการตั้งครรภ์
ยายุติการตั้งครรภ์ ประกอบด้วยยา 2 ชนิดคือ mifepristone และ misoprostol ตัวยา mifepristone สามารถทำให้ร่างกายหยุดหลั่งฮอรโมน progesterone ได้ ซึ่งร่างกายต้องการเพื่อดําเนินการตั้งครรภ์ต่อ
ส่วนยาตัวที่ 2 misoprostol ที่ต้องกินหลังจาก mifepristone ภายใน 48 ชั่วโมง จะช่วยทําให้มดลูกบีบตัวและขับเลือดออกจากมดลูกได้
ประสิทธิภาพของยายุติการตั้งครรภ์ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ของผู้ที่ทานยา [4]:
- สำหรับผู้ที่มีอายุครรภ์ <8 สัปดาห์ ยาจะมีประสิทธิภาพ 94 ถึง 98%
- สำหรับผู้ที่มีอายุครรภ์ 8-9 สัปดาห์ ยาจะมีประสิทธิภาพ 94 ถึง 96%
- สำหรับผู้ที่มีอายุครรภ์ 9-10 สัปดาห์ ยาจะมีประสิทธิภาพ 91 ถึง 93%, ถ้าเพิ่มโดสของยาจะมีประสิทธิภาพ 99%
- สำหรับผู้ที่มีอายุครรภ์ 10-11 สัปดาห์ ยาจะมีประสิทธิภาพ 87%, ถ้าเพิ่มโดสของยาจะมีประสิทธิภาพ 98%
ถ้าต้องการยุติการตั้งครรภ์ต้องทําอย่างไร?
ในประเทศไทย ยายุติการตั้งครรภ์ ไม่ได้วางจำหน่ายไว้ในร้านขายยาทั่วไปหรือจำหน่าย online ถ้าท้องไม่พร้อม แล้วอยากได้ข้อมูลว่ามีทางเลือกอะไรบ้าง รวมถึงข้อมูลการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย สามารถปรึกษาห้องแชทเลิฟแคร์ได้ทาง https://www.lovecarestation.com/ เวลา 16.00-24.00 น. หรือ โทรสายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663 เวลา 9.00-21.00 น. หรือเพจ 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม https://www.facebook.com/1663telephonecsg
SCORA x Lovecarestation
อ้างอิง
- ยาสตรี. (2020, February 28). In Honest Docs. Retrieved May 12, 2020, from https://www.honestdocs.co/drug-nourish-for-woman
- How Can I Delay My Period?. (2019, January 7). In NHS. Retrieved May 12, 2020, from https://www.nhs.uk/common-health-questions/travel-health/how-can-i-delay-my-period/
- ยาเลื่อนประจำเดือน ใช้อย่างไรให้ได้ผล. In Samitivej Hospital. Retrieved May 12, 2020, from https://www.samitivejhospitals.com/th/ยาเลื่อนประจำเดือน
- The Abortion Pill. (n.d.). In Planned Parenthood. Retrieved May 12, 2020, from https://www.plannedparenthood.org/learn/abortion/the-abortion-pill
จัดทำโดย
สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย (IFMSA-Thailand)
-Content Creator
- นางสาวมินนี่ ผดุงเกียรติสกุล นิสิตเเพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- นายเควิน เซซ นิสิตเเพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
-Artwork
- นางสาวถูวดี สัลกันสูติ นิสิตเเพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
-Editor
- นางสาวมณีพรรณราย จิวจินดา นิสิตเเพทย์ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยแพทย์จุฬาภรณ์