วัยรุ่นร่วมมือ ผู้ใหญ่ร่วมใจ : สื่อสารความเข้าใจด้วยการรู้เท่าทัน

วัยรุ่นร่วมมือ ผู้ใหญ่ร่วมใจ : สื่อสารความเข้าใจด้วยการรู้เท่าทัน

“ก็เป็นห่วง” “ก็หวังดี” “ไม่รักไม่พูดหรอกนะ” คำพูดของผู้ใหญ่ที่พยายามไกล่เกลี่ยกับวัยรุ่น ในการพูดคุยที่มีบางคำทำให้วัยรุ่นไม่สบอารมณ์

“อ้วนขึ้นนะ”

“ปีนี้จะสอบตกเหมือนปีก่อนมั้ย”

“ทำไมไม่ทำเหมือนคนนั้นคนนี้”

“เห็นมั้ย แม่บอกแล้ว ว่าให้เชื่อแม่ตั้งแต่แรก”

            คำที่ผู้ใหญ่ทักทาย แต่วัยรุ่นตีความว่า “ถูกตำหนิหรือตัดสิน” ทำให้วัยรุ่นมีท่าทีต่อต้าน เกิดการสื่อสารที่ขัดแย้ง ไม่สามารถไปสู่เจตนาที่แท้จริงของผู้ใหญ่ที่ต้องการสื่อออกไป ทั้งยังส่งผลให้วัยรุ่นพยายามากขึ้นที่จะหลีกเลี่ยงการพบปะผู้ใหญ่ จนเป็นมีมติดปากกันในหมู่วัยรุ่นว่า “วันรวมญาติคือวันอันตรายของหัวใจ”

            ในขณะที่ประสบการณ์ชีวิต และความปรารถนาดี เป็นสิ่งหนึ่งที่มีคุณค่าต่อการใช้ชีวิต เพราะแม้โลกจะเปลี่ยนไป แต่การนำเอาหลักคิดจากผู้ใหญ่ไปปรับใช้มีส่วนช่วยให้วัยรุ่นหลายคนก้าวผ่านเรื่องยุ่งยากไปได้

            วัยรุ่นที่มีความระมัดระวัง แรงต่อต้านที่ซ่อนไว้ภายใน และความรู้สึกหงุดหงิด มักส่งผลให้วัยรุ่นสื่อสารตอบกลับผู้ใหญ่ด้วยสีหน้าไม่พอใจ คำพูดสั้นห้วน และอาจมีการใช้บางคำเพื่อตอกย้ำความชัดเจนของพื้นที่ส่วนตัว อาทิ

            “โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว”

         “ผู้ใหญ่ก็อยู่ส่วนผู้ใหญ่”

         “ทำตัวเองให้ดีก่อนแล้วค่อยมาสอน”

         “นี่มันเรื่องของหนู”

            ยิ่งทำให้ช่องว่างระหว่างวัย… ห่างออกไปทุกที

การรู้เท่าทันอารมณ์ตนเองและการรู้เท่าทันเจตนาของผู้อื่น คือ ต้นทุนในการสื่อสารความปรารถนาดีระหว่างกัน

ในฐานะผู้สื่อสาร หากสามารถรับรู้อารมณ์ตนเองว่า ขณะกำลังจะสื่อสาร “มีอารมณ์อะไร” “อารมณ์นั้นอยู่ในระดับไหน” “ระดับอารมณ์นั้นมีอะไรเปลี่ยนแปลงในร่างกาย” และระดับอารมณ์นั้นส่งผลต่อคำหรือสีหน้าท่าทางในการสื่อสารอย่างไร

อาทิ แม่เข้าใจว่าตนมีความรู้สึกกังวล 5 / 10 โดยเฉพาะในช่วงของการใกล้สอบ โดยแม่รับรู้ได้ว่าตนเองใจสั่น สบสน คิดวกวน จนการลำดับคำพูดไม่ถูก และมีแนวโน้มใช้การตักเตือนโดยนำเอาผลสอบของปีก่อนมาเป็นประเด็นในการสนทนา ทั้งๆ ที่ในใจลึกๆ แม่กังวลว่าเด็กจะมีความเครียด เป็นห่วงว่าหากเด็กสอบตกอีกครั้งหนึ่งจะทำให้เด็กหมดกำลังใจ

นอกจาการรู้เท่าทันแล้ว แม่ยังต้องค่อยๆ ฝึกการจัดการอารมณ์ด้วยการผ่อนคลาย การฝึกหายใจ และอาจลำดับความคิดและความต้องการของตนลงในกระดาษก่อนการสื่อสารเพื่อป้องการความสับสน และการพลั้งเผลอในการสื่อสารที่ไม่เป็นประโยชน์ จากนั้นชวนลูกพดคุย โดยสอบถามถึงความพร้อมและให้ลูกมีส่วนในการตัดสินใจช่วงเวลาที่จะคุยกัน โดยมีเป้าหมายปลายทางเผื่อวางแผนการเรียนให้ผ่านเกณฑ์

ที่สำคัญแม่สามารถบอกความรู้สึกของตนเองแก่ลูกได้ อาทิ “แม่เป็นกังวลผลการสอบของลูก กลัวว่าหากติดขัดจะยิ่งทำให้ลูกเครียด ถ้ามีตรงไหนอยากให้แม่ช่วย บอกแม่นะ”

นอกจากการจัดการอารมณ์ การลำดับการสื่อสาร และการสื่อสารความรู้สึกและความต้องการแล้วนั้น บริบทในการสื่อสารสำคัญกับวัยรุ่นมาก เพราะภาพลักษณ์ของวัยรุ่นที่มาจากสายตาคนอื่นคือสิ่งที่ละเอียดอ่อน การคุยต่อหน้าคนอื่น อาทิ บนโต๊ะอาหารพร้อมญาติจำนวนมาก ย่อมได้รับความร่วมมือน้อยกว่าห้องนอนที่เงียบสงบ และมีเพียงแม่กับลูก

ในฐานะผู้รับสาร หากได้รับคำพูดหรือท่าทีที่กระตุ้นให้เกิความรู้สึกไม่พอใจ เสียใจ ย่อมสามารถบอกความรู้สึกสะท้อนกลับแก่ผู้พูดได้ โดยผู้รับสารเองก็ต้องฝึกในการจัดการกับอารมณ์ ผ่อนคลาย และค่อยๆ สื่อสารออกไปอย่างระมัดระวัง อาทิ “หนูเสียใจที่แม่พูดอย่างนี้ เพราะหนูเองก็พยายามเต็มที่แล้ว” ทั้งยังสามารถร้องขอพื้นที่ปลอดภัยสำหรับจัดการอารมณ์ได้ อาทิ หนูขออนุญาตอยู่คนเดียวสัก 30 นาที หากหนูพร้อมจะออกไปคุยกับแม่นะคะ

การรู้เท่าทันอารมณ์ และระดับอารมณ์ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้วัยรุ่นสามารถสื่อสารเพื่อร้องของพื้นที่ปลอดภัยได้เหมาะสมมากขึ้น เพราะหากสื่อสารในขณะที่อารมณ์โกรธอยู่ในระดับสูง มักส่งผลต่อสีหน้าหงุดหงิด การพูดที่ห้วนกระชับ หรืออาจพลั้งเผลอดพูดบางคำออกไปอย่างไม่ตั้งใจ ส่งผลต่อการตีความจากผู้ใหญ่ว่า “ก้าวร้าว” ในขณะที่ข้างในมากล้นไปด้วยความรู้สึกเสียใจ

โดยหลังจากได้มีพื้นที่ปลอดภัย รู้เท่าทันว่าตนเองอารมณ์สงบลง ค่อยๆ ทบทวนสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าตัวเรากำลังประสบกับอุปสรรคอะไร และสิ่งที่แม่กำลังต้องการสื่อสารคืออะไร ในส่วนนี้เป็นเรื่องไม่ง่ายนักเพราะการใช้เวลากับการทบทวนสิ่งที่แม่พูด อาจทำให้วัยรุ่นมีความคิดวกวนกับบางคำที่ไม่อยากได้ยิน หรือแม้แต่ทวนคิด แต่เมื่อระดับอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ ค่อยๆ สงบลง อาจพบควาหมายที่แท้จริงของคำพูดก็เป็นได้

            แม้เรื่องหวังดี และการสั่งสอน เป็นคุณค่าในเชิงประสบการณ์ของวัฒนธรรมไทย แต่หากมีทักษะในการสื่อสาร “อย่างเห็นอกเห็นใจ” ได้มากขึ้น คุณค่าในเจตนาของจะชัดเจและส่งต่อให้กับวัยรุ่นที่พร้อมเปิดใจนำคุณค่าที่ได้มาปรับใช้กับชีวิตตนเอง

นรพันธ์ ทองเชื่อม : นักจิตวิทยาและที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิต เลิฟแคร์สเตชั่น