เป็นติ่งเนื้อสีชมพูรวมกันเป็นก้อน คล้ายหงอนไก่ อาจมีจำนวนและขนาดที่แตกต่างกัน พบได้ที่บริเวณคอคอดของอวัยวะเพศชาย และที่แคมช่องคลอดและปากมดลูกของเพศหญิงซึ่งจะไม่มีอาการอะไร เว้นเสียแต่มีการฉีกขาด เลือดออก หรือติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ จึงทำให้เกิดการอักเสบเป็นหนองได้
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส ร้อยละ 90 เกิดจาก HPV types 6 และ 11 ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัส HPV นาน 1–6 เดือน
อาการ ระยะเริ่มแรกที่ควรพบแพทย์
- ถ้าเป็นติ่งเนื้อสีชมพูงอกบานออกทางด้านนอกคล้ายหงอนไก่หรือดอกกะหล่ำ ในผู้ชายมักเป็นที่ด้านในของหนังหุ้มปลายองคชาต ผู้ชายรักเพศเดียวกันพบรอบทวารหนัก ผู้หญิงพบที่ปากช่องคลอด
- หูดชนิดแบนราบ พบที่ปากมดลูก ลักษณะแบนราบ ส่วนใหญ่เกิดจาก HPV 16 เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก
- หูดชนิดกลุ่ม ลักษณะเป็นตุ่มขนาด 3 – 4 มม. สีน้ำตาลแดง ม่วง หรือดำ ผิวเรียบ หรือขรุขระเล็กน้อย
- หูดก้อนใหญ่ ลักษณะเป็นหูดขนาดใหญ่ที่โตเร็วมาก จนกลายเป็นก้อนใหญ่ปกคลุมอวัยวะเพศทั้งหมด
การรักษา
มีทั้งทายา จี้เย็น จี้ด้วยไฟฟ้า เลเซอร์หรือตัดออก ปกติเริ่มด้วยการทายา ควรให้แพทย์เป็นผู้ทาให้ โดยเฉพาะเพศหญิงมีซอกมีหลืบ ไม่สามารถทาเองได้ ทุก 4-6 ชั่วโมงต้องล้างออก และทาสัปดาห์ละครั้ง
- ในกรณีที่เป็นตอนตั้งครรภ์ อาจคลอดทางช่องคลอดไม่ได้ ต้องใช้การผ่าตัดแทน
- สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีน เป็นวัคซีนชนิดผสมเชื้อไวรัส 4 ชนิด ได้แก่ HPV types 6, 11, 16, 18 ที่ป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก แนะนำให้ฉีดในผู้หญิงอายุ 9-26 ปี พบว่าสามารถป้องกันโรคหูดหงอนไก่ได้