เบอร์นี้เป็นเบอร์ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) จัดตั้งขึ้น เพื่อรับใช้ประชาชนโดยตรง เช่น ถ้าโทรไปและมีความจำเป็น ก็จะมีรถพยาบาลมารับดูแลและส่งต่อ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น (ในพื้นที่ใกล้เคียง) ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ได้พัฒนาและออกแบบให้ประชาชนคนไทยที่มีสิทธิการรักษาพยาบาลใน 3กองทุน คือ ระบบหลักประกันสุขภาพ ประกันสังคม และข้าราชการ ที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินได้ ในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้
การเจ็บป่วยฉุกเฉินหมายถึง การได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหัน ที่มีผลต่อชีวิตหรือการทำงานอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องบริการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรืออาการเจ็บป่วย บาดเจ็บรุนแรงขึ้น ลักษณะอาการฉุกเฉินที่ควรโทรแจ้ง 1669 คือ ปวดท้องรุนแรง อุจจาระร่วง หมดสติ ช็อค สะลึมสะลือ เจ็บท้องคลอด คลอดฉุกเฉิน
ตกเลือด เลือดออกทางช่องคลอด มีสิ่งแปลกปลอมอุดตันทางเดินหายใจ เจ็บหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย ชักเกร็ง ชักกระตุก บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร อุบัติเหตุอื่นๆเช่น ตกจากที่สูง ถูกทำร้ายร่างกาย ไฟฟ้าช็อต ไฟไหม้ ได้รับสารพิษ ยาพิษ สัตว์มีพิษกัดต่อย ฯลฯ
6 อาการฉุกเฉินวิกฤต ที่ส่งผลต่อชีวิตและอวัยวะสำคัญ
ทั้งนี้ อาการที่สามารถเข้ารับสิทธิรักษาฟรีได้จะต้องมีอาการดังนี้
- หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียก หรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที
- การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน
- ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และ ลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ
หรือ ร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ - ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤตอย่างน้อย 2 ข้อ คือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น
- อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ
- อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด หรือกำลังชักขณะแรกรับ
ที่จุดคัดแยกการรักษาอาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน จะคิดค่ารักษาแบบทุกรายการ แทนการเหมาจ่ายแบบเดิม ใน 72 ชั่วโมงแรก
หลังจากนั้นเป็นเรื่องที่แต่ละกองทุนกับโรงพยาบาลเอกชนจะตกลง และจัดระบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินไปยัง
โรงพยาบาลตามสิทธิ์ เมื่อพ้นวิกฤต หรืออยู่จนครบ 72 ชั่วโมงอย่างมีประสิทธิภาพกรณีพบปัญหาสิทธิ์ฉุกเฉิน
โทร 1506 สิทธิประกันสังคม
โทร 1330 สิทธิหลักประกันสุขภาพ