โรคติดเกม (Gaming Disorder)

เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่งที่ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์

แล้วเมื่อไหร่ถึงเรียกว่า “ติดเกม” กันล่ะ ไปเช็คกันเลยว่าเรามีอาการ 3 อย่างนี้ไหม*
· ไม่สามารถควบคุมตัวเองไม่ให้เล่นเกมได้ การเล่นเกมเป็นกิจกรรมหลักในแต่ละวัน
· ไม่สนใจสิ่งอื่นรอบๆ ตัว ซึ่งอาจรวมไปถึงความสัมพันธ์ในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน
· เล่นเกมต่อเนื่อง แม้จะเริ่มมีผลกระทบด้านลบต่อตนเองแล้ว เช่น อดนอน อดอาหาร

(*โดยพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้มักเกิดขึ้นซ้ำๆ ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา)

ภาพโดย Pexels จาก Pixabay 

ภาวะติดเกมคล้ายกับการติดสารเสพติดหรือติดพนัน เพราะการเล่นเกมทำให้รู้สึกเพลิดเพลินใจเวลาที่ได้เล่นเกม มีความพึงพอใจเมื่อชนะ แต่ต้องการเอาชนะเพิ่มขึ้นอีก ต้องการเล่นในระดับที่สูงขึ้นอีก ต้องการเวลาเล่นมากขึ้นอีก คิดหมกหมุ่นอย่างมากเกี่ยวกับเกม มีความต้องการเล่นเกมตลอดเวลาจนมีผลกระทบต่อตนเองหลายอย่าง และจะรู้สึกหงุดหงิดกระวนกระวาย เครียด เมื่อถูกขัดขวาง หรือห้ามเล่น

ผลกระทบจากการติดเกม เช่น
– การเรียน
– การทำงาน
– สุขภาพ เช่น ปวดหลัง ปวดหัว อ่อนเพลีย สมาธิสั้น
– ความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม
– ปัญหาพฤติกรรม เช่น โกหก ก้าวร้าว ขโมย หนีเรียน การพนัน
– อาจนำไปสู่การใช้สารเสพติดต่างๆ

การเล่นเกมแต่พอดี ไม่มีผลกระทบในการใช้ชีวิต ก็ช่วยลดความเครียด เพิ่มทักษะแก้ปัญหา ฝึกประสาทสัมผัสได้ แต่ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคติดเกมมั้ย ลองไปทำแบบทดสอบการติดเกมได้ที่ www.healthygamer.net หรือปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือปรึกษา lovecarestation.com แชทสด 4 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน ทุกวัน

ข้อมูลอ้างอิง :
1.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี.(2559).การติดเกม. ใน ตำราเวชศาสตร์วัยรุ่น. หน้า 565-580. 2.https://thestandard.co/gaming-disorder/