ใช้ I Message ไม่ยากอย่างที่คิด

 

เราได้ทำความเข้าใจว่าการสื่อสารเชิงบวก รวมถึงทบทวนเส้นแห่งการยอมรับของตัวเองที่มีต่อพฤติกรรมของลูกๆ หรือวัยรุ่น ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละครอบครัว และเข้าใจการสื่อสารแบบ I Message โดยการบอกความรู้สึกของเราที่เกิดขึ้นจริงกับเหตุการณ์หรือพฤติกรรมที่เราอาจจะไม่ยอมรับ รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเรา หรือเลือกบอกความต้องการเชิงพฤติกรรมที่เราอยากให้ลูก/วัยรุ่นทำ โดยให้เขาได้มีส่วนร่วมตัดสินใจด้วยตนเอง ไม่ใช่การบังคับให้ทำ จากในบทความที่แล้ว (I Message ตัวช่วยสร้างการสื่อสารเชิงบวกในครอบครัว)

การใช้ I Message อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายๆ คน เพราะเราไม่คุ้นเคย แต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะทำ เพียงแต่ต้องอาศัยการลองทำ ฝึกฝน ทำบ่อยๆ จนกลายเป็นเรื่องธรรมดา

วันนี้เลิฟแคร์จึงชวนพ่อแม่และผู้ใหญ่ มาฝึกใช้ I Message กัน

ตัวอย่าง

เหตุการณ์

ลูกชายวัย ๑๒ ปี ของคุณใช้เครื่องมือสนาม แล้วทิ้งไว้กลางสนามหญ้า และฝนเริ่มตก

 

พฤติกรรม

ทิ้งเครื่องมือกลางสนามกลางฝน

 

ผลกระทบ

เครื่องมือขึ้นสนิมต้องซื้อเครื่องมือชุดใหม่

อารมณ์

กังวล

  ความต้องการ และ เป้าหมายเชิงพฤติกรรม
 

IMessage : เวลาลูกทิ้งเครื่องมือไว้กลางฝน พ่อรู้สึกกังวล เพราะมันอาจขึ้นสนิมและพ่อต้องเสียเงินซื้อเครื่องมือชุดใหม่

 

IMessage :พ่อต้องการให้ลูกเก็บเครื่องมือทุกครั้งหลังใช้เพื่อป้องกันความเสียหาย

 

 

มาฝึกใช้ I Message จากตัวอย่างเหล่านี้ และลองนึกถึงเหตุการณ์จริงที่เคยเกิดขึ้นกับคุณสัก ๑ เรื่อง ในตอนนั้นเราพูดกับลูกหรือวัยรุ่นอย่างไร ด้วยท่าที น้ำเสียงแบบไหน  คิดว่าลูกฟังแล้วรู้สึกอย่างไร  และถ้าลองเปลี่ยนเป็น I Message คิดว่าลูกจะรู้สึกอย่างไร เหมือนหรือต่างไปจากเดิมหรือไม่

นรพันธ์ ทองเชื่อม : นักจิตวิทยาและที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิต เลิฟแคร์สเตชั่น

 (ดาวน์โหลดแบบฝึกหัด Confronting I-Message ที่นี่)