PEP คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ?
PEP ก็คือยาต้านไวรัส HIV ที่เราต้องกินภายใน 72 ชั่วโมง (หรือ 3 วัน) หลังจากที่เราคิดว่าอาจจะไปสัมผัสกับเชื้อ HIV มา ยานี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าไปอยู่ในร่างกายของเราอย่างถาวร ซึ่งถือว่าสำคัญมาก ๆ เลยนะ!
แล้วเราควรใช้ PEP เมื่อไหร่?
คุณควรใช้ PEP ในกรณีฉุกเฉินเหล่านี้:
1. มีเซ็กส์แบบไม่ป้องกันกับคนที่ติดเชื้อ HIV หรือไม่รู้สถานะ
2. ถ้าคุณทำงานในวงการแพทย์แล้วโดนเข็มทิ่มหรืออุบัติเหตุที่อาจทำให้สัมผัสเลือดผู้ป่วย
3. ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น
วิธีใช้ PEP ให้ได้ผล
1. ต้องเริ่มกินยาภายใน 72 ชั่วโมงหลังสัมผัสเชื้อ (ยิ่งเร็วยิ่งดี!)
2. ต้องกินยาติดต่อกัน 28 วันเต็ม ไม่ขาด ไม่ลืม
3. ทานตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด
ถ้าคิดว่าเสี่ยง ต้องทำยังไง?
1. รีบไปหาหมอเร็วที่สุด! ไม่ว่าจะโรงพยาบาล คลินิกด่วน หรือคลินิกทั่วไป
2. เล่ารายละเอียดให้หมอฟังทั้งหมด ว่าเกิดอะไรขึ้น เมื่อไหร่ ยังไง
3. ถ้าหมอสั่ง PEP ก็เริ่มทานทันที
ผลข้างเคียงมีไหม?
ผลข้างเคียงน้อยมากและไม่รุนแรง เช่น คลื่นไส้ ปวดหัว หรือเหนื่อย ๆ ได้บ้าง ถ้ามีอาการรุนแรงให้รีบปรึกษาหมอเลย
สิ่งสำคัญที่ต้องทำหลังกิน PEP
1. ไปพบหมอตามนัด เพื่อดูว่ามีผลข้างเคียงอะไรไหม
2. หมั่นสังเกตอาการตัวเอง เนื่องจาก PEP ไม่ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น หากผิดปกติควรรีบไปปรึกษาแพทย์
3. ตรวจเลือดหา HIV ตามที่หมอนัด (มักจะตรวจตอนเริ่มกิน PEP, หลังกิน 4-6 สัปดาห์ และ 3 เดือน)
นอกจาก PEP แล้ว ป้องกันยังไงอีกได้บ้าง?
1. ใช้ PrEP: ยากินป้องกัน HIV สำหรับคนที่มีความเสี่ยงสูง
2. เซ็กส์ปลอดภัย: ใช้ถุงยางทุกครั้งเมื่อมีเซ็กส์
3. ถ้าใช้ยาฉีด ให้ใช้เข็มสะอาดของตัวเองเสมอ ไม่แชร์กับคนอื่น
ยาเพร็พแบบฉีด ป้องกัน HIV ได้ผลดีกว่า เหมาะสำหรับคนที่ลืมกินยาบ่อย
เครดิต : https://lovefoundation.or.th
ยาเพร็พ (PrEP) คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวีสำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวี ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ที่มีผลเลือดลบ ก่อนมีการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ก่อนหน้านี้ที่ใช้กันอยู่นั้น ยาเพร็พ จะเป็นยาชนิดเม็ด ของทรูวาด้า (Truvada) และเดสโควี (Descovy) โดยผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี จะต้องกินยาเพร็พทุกวัน เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีได้ถึง 99 เปอร์เซ็นต์
แต่ตอนนี้ได้มีทางเลือกเพิ่มขึ้น โดยเป็นยาเพร็พ ชนิด แบบฉีด ซึ่งองค์การอาหาร และยาสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุมัติให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีสำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวี ก่อนมีการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือ เพร็พ แบบฉีด ชนิดแรกแล้ว เมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยเป็นยาแอพรีจูด (Apretude) ยาเพร็พชนิด แบบฉีด ซึ่งการฉีดยานั้นสำหรับครั้งแรกต้องฉีด 2 โดส ภายใน 1 เดือน และจากนั้นฉีดทุก 2 เดือนเท่านั้น ซึ่งลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีได้ถึง 69 เปอร์เซ็นต์
ยาแอพรีจูด (Apretude) หรือชื่อสามัญคือ Cabotegravir extended-release injectable suspension เป็นการนำยา Cabotegravir (คาโบทีเกรเวียร์) ซึ่งเดิมเป็นยาป้องกันแบบ PrEP มาทำให้อยู่ในรูปแบบของยาฉีด
การใช้ Apretude อาจพบผลข้างเคียงได้มากกว่ายาป้องกันชนิดเม็ด เช่น ปวดหัว ไข้ เป็นลม อ่อนเพลีย ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่น หรืออาการปวดบวมตำแหน่งฉีดยา ผู้ผลิตกำหนดให้ผู้ใช้ยาจะต้องมีน้ำหนักเกิน 77 ปอนด์ หรือ 35 กิโลกรัม และมีคำเตือนให้ระวังการแพ้รุนแรง มีผลต่อตับ และความผิดปกติทางอารมณ์ หรือโรคซีมเศร้า
อีกทั้งยังมีราคาต่อเข็มค่อนข้างสูง คือ เข็มละ 3,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 125,000 บาท ต่อเข็ม หรือ 22,000 คอลลาร์ (726,000 บาท) ต่อปี สำหรับหกโดส และคาดว่าจะพร้อมจำหน่ายในต้นปีหน้า โดยแพทย์จะให้คำปรึกษา และแนะนำให้ใช้ยาเพร็พ ชนิด แบบเม็ด รับประทานก่อน เว้นเสียแต่บุคคลดังกล่าวยืนยันขอรับยาป้องกันแบบฉีด เนื่องจากยา Apretude มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง หากแนะนำให้ใช้เป็นยาเพร็พ ชนิด แบบฉีด ตั้งแต่เริ่มต้นการรักษา เพราะยาตัวใหม่นี้ยังไม่ได้รับการครอบคลุมสำหรับประกัน แม้ก่อนหน้านี้รัฐบาลกลางจะประกาศให้บริษัทประกันต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายของยา Truvada และ Descovy แล้ว
เครดิต : https://www.standbyyou.com