ในวันที่ไม่โอเค…เซมาทางนี้

ในวันที่ไม่โอเค เซมาทางนี้

เราทุกคนย่อมมีวันที่โอเค และไม่โอเค สลับสับเปลี่ยนกัน หนักบ้าง เบาบ้างแตกต่างกันไป ใครรับมือไหวก็ไปต่อ ใครไม่ไหวก็อาจเลือกที่จะพักก่อน บางคนเลือกหาตัวช่วย บางคนโพสต์ระบาย บางคนอาจจมอยู่กับความทุกข์ ความไม่สบายใจ เพราะไม่รู้จะหันหน้าไปคุยกับใครได้ เกรงใจบ้าง กลัวคนอื่นจะรู้เรื่องแล้วเอาไปพูดต่อ (ไม่บอกใครแน่นะวิ) กังวลไปหมด จนบางครั้งก็มืดแปดด้าน ทำให้เสียสุขภาพกายและสุขภาพใจ จริงๆ ตอนนี้มีหลายหน่วยงานที่เล็งเห็นถึงปัญหานี้ และได้เปิดบริการทั้งสายปรึกษาและช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญไม่มีค่าใช้จ่ายด้วยน้า แถมยังประหยัดเวลาในการเดินทางอีกด้วย วันนี้พี่เลิฟแคร์รวบรวมมาให้แล้วจ้า

สายปรึกษา

  • สายด่วนสุขภาพจิต 1323 (24 ชั่วโมง)

เค้ามีระบบนัดทางออนไลน์แล้วนะ เข้าไปจองเวลาที่สะดวกได้เลย https://1323alltime.camri.go.th/

  • สายช่วยเหลือสังคม 1300 มีทุกข์ พบปัญหา (24 ชั่วโมง) 
  • มูลนิธิสายเด็ก 1387 (24 ชั่วโมง)

บริการให้คำปรึกษาเบื้องต้นให้ความช่วยเหลือและติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับปัญหาของเด็กทุกคนในประเทศไทย เพื่อให้เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน 

  • สมาคมสะมาริตันส์

รับฟังด้วยหัวใจ ในฐานะ “เพื่อน” ไม่ตัดสิน รับรู้ความรู้สึก ยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย ด้วยอาสาสมัครที่มีประสบการณ์

กรุงเทพฯ โทร. 02-113-6789 กด 1 Bangkok English line กด 2  เวลา 12.00-22.00 น. จ.เชียงใหม่ โทร. 053- 225-977 ถึง 78 เวลา 19.00-22.00 น.

  • สายด่วนการศึกษา 1579 ศูนย์คุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ซึ่งถูกล่วงละเมิดทางเพศ กระทรวงศึกษาธิการ (ศคพ.)
  • ศูนย์สุขภาพจิต Depress We Care ซึมเศร้าเราใส่ใจ โทร.081-932-0000 (24 ชั่วโมง)

ให้การปรึกษาโดยทีมสหวิชาชีพจากกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดโรงพยาบาลตำรวจ

  • ศูนย์บรรเทาใจ 02-233-4449 และ 02-233-6227

เพื่อนผู้รับฟังและให้คำปรึกษาโดยอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมและมีประสบการณ์ เพื่อให้คุณรู้ว่าไม่ได้อยู่คนเดียวในโลกใบนี้ ยังมีเพื่อนคอยรับฟังทุกเรื่องราว ดำเนินงานภายใต้สมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย

  • สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม  1663 

ให้บริการปรึกษาเรื่องเอชไอวี/เอดส์ และการปรึกษาทางเลือกรณีตั้งครรภ์ไม่พร้อม เวลา 9.00-21.00 น.

โดยมูลนิธิเข้าถึงเอดส์

  • สายด่วนยุติธรรม 1111 กด 777 (24 ชั่วโมง)

ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ให้คำปรึกษากฎหมาย ร้องเรียนเรื่องราวร้องทุกข์ และส่งเสริมสิทธิผู้ต้องหาในการสอบสวนคดีอาญา ติดตามค่าตอบแทนผู้เสียหายหรือค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายจำเลย

และขอข้อมูลคุ้มครองพยานในคดีอาญา

  • สายด่วน 1212 (24 ชั่วโมง)

ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ พบปัญหาซื้อขายออนไลน์ เว็บไซต์ผิดกฎหมาย ภัยคุกคามออนไลน์ หรือข้อสงสัยในการทำธุรกรรมออนไลน์

แอปพลิเคชั่น

  • Buddy thai

เป็นแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันและร่วมแก้ปัญหาการรังแกกันในโรงเรียนและโลกออนไลน์ เพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่โดนรังแก มีภาวะเครียด หาทางออกไม่ได้ มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย สามารถติดต่อขอช่วยเหลือจากทีมนักจิตวิทยาได้ นอกจากนี้ ยังช่วยให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ทักษะในการรับมือสถานการณ์การรังแก ในรูปแบบต่างๆ อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจอารมณ์ตัวเองและผู้อื่นมากขึ้น มีความกล้าที่จะทำสิ่งที่ดีและถูกต้อง เรียนรู้ทักษะชีวิต ทักษะการแก้ปัญหา และการจัดการอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม

  • Mental Health Check up 

แอปพลิเคชั่นของกรมสุขภาพจิต ที่ช่วยให้เราสามารถประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง และคัดกรองความเสี่ยงต่อปัญหาจิตเวช  เช่น ความเครียด ภาวะซึมเศร้า ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ภาวะติดสุรา ภาวะสมองเสื่อม ภาวะติดเกม ภาวะหมดไฟในการทำงาน พลังสุขภาพจิต (RQ)  และดัชนีวัดความสุข หลังจากทำประเมินเสร็จแล้วจะมีคำแนะนำในการดูแลสุขภาพจิตให้ด้วย

  • SATI 

แอปสำหรับคนที่อยากหาคนรับฟังเรื่องราวที่ไม่สบายใจ หรือระบายความเครียด โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิด แต่เป็นการฟังด้วยใจจากอาสาสมัครหัวใจมีหูที่ผ่านการอบรมจากกรมสุขภาพจิต  

  • SabaiJai

แอปที่ช่วยป้องกันและช่วยเหลือคนที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง พัฒนาโดยภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

ปรึกษาออนไลน์

  1. เพจ 1323 ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต https://www.facebook.com/helpline1323

2.เพจ มูลนิธิสายเด็ก https://www.facebook.com/childlinethailand

3.เพจสายด่วน 1300 พม. https://www.facebook.com/1300.msociety.go.th

4.เพจ 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 

ปรึกษาเรื่องเอดส์และท้องไม่พร้อม ช่วยเหลือส่งต่อเพื่อให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ให้บริการปรึกษาทางกล่องข้อความวันละ 4 รอบ คือ ช่วง 08.00 – 10.00 น. /12.00 – 14.00 น / 18.00 – 20.00 น.และ 21.00 – 23.00 น.

https://www.facebook.com/1663telephonecsg/

5.RSA ออนไลน์

ปรึกษาปัญหาท้องไม่พร้อมออนไลน์ ทางเว็บไซต์ https://abortion.rsathai.org/

6.Teen club 

Line Official ช่องทางปรึกษาปัญหาวัยรุ่น และช่วยให้วัยรุ่นเข้าถึงข้อมูล ความรู้ด้านสุขภาพทางเพศ และเข้าถึงบริการสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์ Add Line ID: @teen_club 

7.Here to Heal  

บริการพูดคุยผ่านข้อความกับผู้เชี่ยวชาญสุขภาพจิต เวลา 10.00-22.00 น.

https://heretohealproject.com/online_counseling/

8.Lovecare station 

บริการให้การปรึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่น ทั้งเรื่องเพศ (คุมกำเนิด ท้องไม่พร้อม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/เอชไอวี ความหลากหลายทางเพศ) ถูกรังแก การเรียน ความรัก/ความสัมพันธ์ และสุขภาพจิต พร้อมแนะนำ/ประสานส่งต่อหน่วยบริการที่เหมาะสม ผ่านการแชท 3 ช่องทาง 

ห้องแชททางเว็บไซต์ www.lovecarestation.com   เวลา 16.00-24.00 น. 

FB : Lovecare station เวลา 12.00-20.00 น.  https://www.facebook.com/lovecarestation

และ Line ID : @lovecarestation เวลา 12.00-20.00 น. 

หลากหลายช่องทาง ไม่มีค่าใช้จ่าย ปลอดภัยและช่วยให้สบายใจได้ แต่หากรู้สึกว่าไม่ดีขึ้นและมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน หรือมีความพยายามทำร้ายตนเองหรือคนอื่น รวมถึงมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ควรพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการโดยละเอียดที่หน่วยบริการตามสิทธิหรือที่เราสะดวก เพราะสุขภาพใจเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องดูแล

พี่เลิฟแคร์