ฟังท่านพุทธทาส พูดเรื่องการทำแท้ง
โดย…ผศ.นพ.สัญญา ภัทราชัย ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ประเด็นเรื่องการทำแท้งหรือที่เรียกในปัจจุบันว่าการยุติการตั้งครรภ์ เป็นประเด็น สาคัญที่ยังเป็น ข้อถกเถียงในทางจริยธรรมว่าทำได้หรือไม่ (Ethical dilemma) แนวความคิดเรื่องการทำแท้งมีมากมาย หลายทฤษฎี ตั้งแต่ไม่ยอมให้ทำแท้งเลยไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ไปจนถึงอีกสุดขั้วหนึ่งคือทำแท้งได้ ในทุก ๆ กรณี โดยที่มีแนวความคิดอีกมากมายหลายสานักที่อยู่ระหว่างทั้งสองขั้วนี้ อย่างไรก็ตามพอจะ แบ่งได้เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ คือกลุ่มที่สนับสนุนให้ผู้หญิงเลือกเองหรือ Pro-choice และกลุ่มที่สนับสนุน สิทธิในการมีชีวิตของตัวอ่อนหรือ Pro-life
กลุ่ม Pro-life เป็นกลุ่มที่มีแนวคิดต่อต้านการทำแท้ง
เนื่องจากเห็นว่าชีวิตของตัวอ่อนหรือทารก มีคุณค่าเทียบเท่ากับเป็นบุคคลอีกผู้หนึ่ง หรือที่เรียกกันว่ามีสถานะเป็นบุคคล (personhood) ดังนั้นจึงมี สิทธิที่จะมีชีวิต (right to life) และใครจะละเมิดมิได้ องค์กรที่สนับสนุนแนวคิด Pro-life อย่างเข้มแข็ง ชัดเจนที่สุดคือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก มีแนวความคิดว่าชีวิตที่เกิดมาเป็นไปตามแผนการของ พระเจ้าและมีความศักดิ์สิทธิ์ (sanctity of life) มนุษย์ไม่อาจไปละเมิดได้ ในปี ค.ศ.๑๙๖๘ สมเด็จพระ สันตปาปา พอลที่ ๖ ได้ออกสาส์นพระสันตปาปา (papal encyclical) ชื่อ Humanae Vitae(๑) ซึ่งเป็น สาส์นที่มีความสาคัญมาก แสดงจุดยืนทางปรัชญาอย่างชัดเจนว่าห้ามทำแท้งอย่างเด็ดขาดและยังห้าม เรื่องการคุมกำเนิดทุกวิธี ยกเว้นการงดร่วมเพศบางเวลา (periodic abstinence) เนื่องจากคริสต์ ศาสนาโรมันคาทอลิกมีผู้นับถือมากที่สุดในโลก จุดยืนของทางสานักวาติกันในเรื่องนี้จึงมีผลกระทบ อย่างกว้างขวางไปทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคู่สมรสที่ต้องการคุมกำเนิดหรือยุติการตั้งครรภ์ ศาสนา อื่น ๆ ก็เช่นเดียวกันมีแนวคิดที่จะสนับสนุนการมีชีวิตของทารกแทบทั้งหมด อาจมีข้อแตกต่างปลีกย่อย อยู่บ้าง ในศาสนาพุทธถือว่าการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นบาปละเมิดศีลข้อแรกของศีล ห้า แนวความคิดเรื่อง Pro-life จึงมีความเข้มข้นมากในกลุ่มประเทศละตินอเมริกาที่นับถือคริสตศาสนาโรมันคาทอลิกและใน กลุ่มประเทศอาหรับและเอเชียที่นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ
กลุ่ม Pro-choice มีแนวคิดว่าผู้หญิงมีสิทธิในร่างกายตัวเอง
ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของ มนุษย์ (basic human right) ดังนั้นผู้หญิงมีสิทธิที่จะกำหนดว่าจะให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อหรือสิ้นสุดลงก็ได้ การบังคับให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ต่อโดยฝืนความต้องการถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แนวความคิดนี้ เริ่มพัฒนามาพร้อม ๆ กับแนวคิดเรื่องสุขภาพมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิทธิเสรีภาพและความเป็นธรรมใน สังคม การขู่เข็ญบังคับ (coercion) การเลือกปฏิบัติ (double standard, prejudice) และการไม่ให้ โอกาสเข้าถึงบริการทางแพทย์ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมีผลกระทบทางจริยธรรมอย่าง ร้ายแรง ซึ่งแนวความคิดในเรื่องสิทธิมนุษยชน นั้นแท้จริงมีอยู่ในแทบทุกศาสนาซึ่งมากน้อยแล้วแต่จะมี การตีความ แต่เห็นชัดเป็นรูปธรรมภายหลังการปฏิวัติในประเทศฝรั่งเศสและคาประกาศอิสรภาพของ สหรัฐอเมริกาจนกระทั่งถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ขององค์การสหประชาชาติ พ.ศ. ๒๔๙๑ (๒)
กลุ่ม Pro-choice เห็นว่าตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ไม่น่าจะมีสภาวะเป็นบุคคล เพราะยังไม่มี เงื่อนไขของความเป็นบุคคลอย่างครบถ้วน ตัวอย่างเช่นไม่สามารถดารงชีวิตอยู่ได้อย่างอิสระนอกครรภ์ มารดา ดังนั้นการทำแท้งจึงไม่ถือเป็นการฆาตกรรม ตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ ยังไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะ เรียกร้องหรือลบล้างสิทธิของหญิงที่ตั้งครรภ์ได้ แต่ถึงแม้จะถือว่าตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์เป็นบุคคล สมบูรณ์ก็ยังไม่มีสิทธิเทียบเท่าสิทธิของผู้หญิงที่เป็นเจ้าของร่างกาย
Judith Jarwis Thomson นักปรัชญาชาวอเมริกันได้เสนอแนวคิดที่น่าสนใจที่ จะสนับสนุนว่า ทารกในครรภ์ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในครรภ์หากหญิงผู้ตั้งครรภ์ไม่ยินยอม Thomson เสนอเรื่องเปรียบเทียบ สมมติว่ามีนักไวโอลินเอกของโลกคนหนึ่งกำลังป่วยขั้นโคมาด้วยโรคเลือดอย่างร้ายแรง วิธีเดียวที่รักษา ได้คือหาผู้ที่มีหมู่เลือดที่เข้ากันได้ทุกประการมาเชื่อมต่อระบบการไหลเวียนเลือดเป็นเวลา ๙ เดือน หลังจากนั้นนักไวโอลินเอกผู้นี้ก็จะหายเป็นปกติ ทางสมาคมผู้รักดนตรีได้พิจารณาสืบค้นจากบันทึกทาง การแพทย์พบว่าท่านเป็นผู้เดียวที่มีหมู่เลือดที่เข้าได้กับเลือดของนักไวโอลินเอกผู้นี้ทุกประการ ดังนั้นใน คืนหนึ่งขณะที่ท่านหลับสนิท ทางสมาคมผู้รักดนตรีได้บุกเข้ามาในบ้านท่านและวางยาสลบท่าน ทำการ เชื่อมต่อระบบไหลเวียนเลือดของท่านเข้ากับระบบไหลเวียนเลือดของนักไวโอลินเอก เมื่อท่านตื่นขึ้นมา พบความจริง ทางสมาคมผู้รักดนตรีขอร้องให้ท่านยอมผูกติดกับนักไวโอลินเอกผู้นี้นาน ๙ เดือน หลังจาก นั้นท่านก็จะเป็นอิสระและนักไวโอลินเอกก็จะรอดชีวิตไปสร้างผลงานดนตรีต่อไป Thomson ถามว่าท่านจะยินดีที่จะเชื่อมติดกับนักไวโอลินผู้นี้นาน ๙ เดือนเพื่อให้เขารอดชีวิตหรือไม่ ถ้าท่านปฏิเสธ และเขาต้องเสียชีวิตไป ถือว่าท่านทาผิดจริยธรรมหรือไม่ และนักไวโอลินผู้นี้มีสิทธิที่จะมาใช้ร่างกาย ของท่านหรือไม่ Thomson กล่าวว่าถ้าท่านตอบว่ายินดีที่จะยอมให้ใช้ร่างกายท่านนาน ๙ เดือน ท่านจะได้รับคำชื่นชมว่ามีจิตใจดีงามและกว้างขวาง แต่ถ้าท่านไม่ยินยอมก็ไม่ได้หมายความว่าท่านกระทำผิดจริยธรรมเพราะแท้จริงแล้วนักไวโอลินผู้นี้ไม่ได้มีสิทธิที่จะมาใช้ร่างกายของท่านตั้งแต่แรก(๓)
ในกรณีประเทศไทยซึ่งมีปัญหาการทำแท้งไม่ปลอดภัยอยู่ในปัจจุบัน สูตินรีแพทย์ส่วนใหญ่ หลีกเลี่ยงการเผชิญกับปัญหานี้เนื่องจากไม่ต้องการทำบาป เป็นการผลักดันให้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม ต้องไปรับบริการที่ไม่เหมาะสมและไม่ได้มาตรฐาน เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือแม้กระทั่งเสียชีวิต องค์การอนามัยโลกประเมินว่าร้อยละ ๑๓ ของการตายของมารดา (maternal deaths) เกิดจากการแท้งที่ไม่ ปลอดภัย (unsafe abortion ) (๔) ในเวชปฏิบัติของสูตินรีแพทย์เป็นการยากอย่างยิ่งที่จะหลีกเลี่ยง ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมหรือการตั้งครรภ์ไม่ปรารถนาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบันที่ประเทศไทยกำลังประสบกับภาวะวัยรุ่นตั้งครรภ์จำนวนมาก เด็กหญิงอายุน้อย ๆ เหล่านี้หลายคนต้องเสีย อนาคตหรือเสียชีวิตจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย การที่สูตินรีแพทย์ยอมทำแท้งให้เด็กหญิงเหล่านี้ อย่างน้อยเป็นการช่วยรักษาอนาคตหรือช่วยชีวิตของเธอไว้ได้ แต่ก็เป็นการทำบาป ประเด็นนี้เป็นข้อ ขัดแย้งในใจของสูตินรีแพทย์ตลอดมา ผู้เขียนได้พูดคุยกับเพื่อนแพทย์ผู้หนึ่ง (นายแพทย์สมชาย หาญไชยพิบูลย์กุล อายุรแพทย์ โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา ) ซึ่งได้มีโอกาสได้สนทนาซักถามปัญหานี้กับ ปราชญ์ทางพุทธศาสนาของโลก คือท่านพระธรรมโกษาจารย์หรือท่านพุทธทาสภิกขุเห็นว่ามีความ น่าสนใจสมควรจะเผยแพร่ จึงขอนำจดหมายมาเสนอในที่นี้
การทำแท้งบาปหรือไม่ ประเด็นเรื่องการทาแท้งบาปหรือไม่ เป็นปัญหาจริยธรรมทาง การแพทย์ที่มีการถกเถียงกันมานาน ในสมัยที่ผู้เขียนทำงานชดใช้ทุนอยู่โรงพยาบาลอำเภอของรัฐทางภาคใต้ ตอนจบใหม่ ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เวลานั้นท่านพุทธทาสยังมีชีวิตอยู่ ผู้เขียนเคยเข้าไปที่สวนโมกข์ เพื่อสนทนาธรรมประเด็นเรื่องการทำแท้ง คิดว่าเป็นเรื่องน่าสนใจน่าจะเอามาบันทึกเ ป็นหลักฐาน ถ่ายทอดกันไว้
พื้นฐานเดิมโรงพยาบาลที่ผู้เขียนอยู่มีการทำแท้ง โดยท่านผู้อำนวยการเป็นผู้ทำมีการเสียค่าใช้จ่ายโดยคิดเหมือนเป็นหัตถการอันหนึ่ง เงินทั้งหมดเข้าโรงพยาบาล แพทย์ผู้ทำไม่ได้รับ ผลประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น ผู้เขียนสงสัยจึงถามท่านผู้อำนวยการถึงเหตุผล ท่านตอบว่าผู้ที่มาให้เราทำแท้ง เป็นผู้ที่มีปัญหา มีความทุกข์ บางส่วนเป็นเด็กนักเรียน เมื่อตั้งท้องก็จะมีปัญหาเรื่องการเรียน บางคนต้อง ออกจากโรงเรียนเสียอนาคต ถ้าเราไม่ทำแท้งให้ เขาก็จะไปให้หมอเถื่อนทำให้ แล้วติดเชื้อ สุดท้ายก็ต้องให้เราช่วยอยู่ดี หลายรายเราช่วยทันก็รอด บางรายช่วยไม่ทันก็ตาย แล้วทำไมเราไม่ช่วยเขาตั้งแต่แรก เพราะถ้าเราทำเองปลอดภัยกว่า เมื่อได้ความดังนั้น ผู้เขียนก็เห็นดีด้วยเพราะเพิ่งมีคนไข้เสียชีวิต เพราะโลหิตเป็นพิษจากการแท้งติดเชื้อ
หลังจากที่ทำแท้งไปสักพักหนึ่งผู้เขียนก็รู้สึกไม่สบายใจ จึงไปสวนโมกข์เพื่อเรียนถามท่านพุทธทาส ทันทีที่ผู้เขียนถามว่าการทำแท้งบาปหรือไม่ ท่านพุทธทาสย้อนถามผู้เขียนว่าที่ทำนั้นถือเป็นการ รับจ้างฆ่าคนหรือไม่ ผู้เขียนตอบว่าไม่ เพราะผู้เขียนไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ เงินที่ได้รับเข้าโรงพยาบาลทั้งหมด ผู้เขียนอธิบายเหตุผลว่าทำเพราะต้องการช่วยคนที่มีความทุกข์ ถ้าเราไม่ทำเขาก็จะไปให้หมอเถื่อนทำเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ถ้าเราทำแท้งให้เขาตั้งแต่แรกเขาก็จะปลอดภัยกว่า ท่านพุทธทาสตอบว่า ถ้าอย่างนั้นก็เป็นบุญ ถือเป็นการทำบุญเพราะเป็นการช่วยเขาให้พ้นทุกข์ เมื่อได้ยินดังนั้น ผู้เขียนรู้สึกยินดี โล่งอกที่การกระทำของตนเองไม่เป็นบาปแถมยังเป็นบุญ ท่านพุทธทาสยังพูดต่อไปอีกว่า มีคนมาถามปัญหาทำนองนี้หลายราย เช่น เพชฌฆาตที่ประหารชีวิตนักโทษบาปหรือไม่ ตำรวจทหารที่ฆ่าศัตรู ที่มารุกรานประเทศชาติเราบาปหรือไม่ พุทธทาสบอกว่าการกระทำเหล่านี้ไม่ถือ เป็นบาปเพราะคนทำต่างทำตามหน้าที่ มิได้มีเรื่องโกรธแค้นอะไรส่วนตัว ผู้เขียนเลยถามต่อว่า แสดงว่าการกระทำจะถือว่า บาปหรือไม่อยู่ที่เจตนาใช่หรือไม่ ท่านพุทธทาสตอบว่าใช่ ประเด็นที่ละเอียดอ่อนเหล่านี้ถ้าผู้เขียนไม่ได้เป็นผู้ถาม และได้ยินคำตอบจากปากของท่านพุทธทาสเอง ผู้เขียนก็คงไม่เชื่อ การทำแท้งถือเป็นการทำบุญได้อย่างไร แต่สิ่งที่ผู้เขียนเล่ามานี้ผู้เขียนยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง และที่เล่านี้เพราะได้รับการร้องขอ จากเพื่อนแพทย์ที่เป็นสูติแพทย์ ผู้เขียนมิได้มีเจตนาที่จะชักจูงให้แพทย์ที่ไม่เห็นด้วยกับการทำแท้งหัน มาทำแท้ง มิได้มีเจตนาที่จะให้แพทย์เป็นมือปืนรับจ้างฆ่าเด็ก และผู้เขียนมิได้มีเจตนาที่จะส่งเสริมให้มี ฟรีเซ็กซ์ในหมู่เยาวชน เพียงแต่ผู้เขียนเห็นว่าประเด็นการทำแท้งเป็นประเด็นจริยธรรมที่น่าสนใจ ยิ่งถ้าเป็นความเห็นจากท่านพุทธทาสแล้วน่าจะมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานและอาจช่วยให้แพทย์ที่ทำแท้ง เพื่อช่วยคนที่มีความทุกข์ได้พ้นทุกข์โดยที่ตัวเองไม่ทุกข์
เอกสารอ้างอิง
๑. The encyclical letter Humanae Vitae from Vatican website. http://www.vatican.va/holy_father/paul_vi/encyclicals/documents/hf_p-vi_enc_25071968_humanae-vitae_en.html
๒. United Nations Human Rights. http://www.ohchr.org/EN/UDHR/Pages/Introduction.aspx
๓. Thomson, J. “A Defense of Abortion”. Philosophy and Public Affairs 1:1 (Autumn 1971): 47-66.
๔. World Health Organization. Unsafe abortion: global and regional estimates of the incidence of unsafe abortion and associated mortality in 2003. Geneva. http://whqlibdoc.who.int/publications/2007/9789241596121_eng.pdf