คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
ปีงบประมาณ 2559 (1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559)
เด็กแรกเกิด :
1) เกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559
2) มีสัญชาติไทย (บิดาและมารดา หรือบิดา หรือมารดา เป็นผู้มีสัญชาติไทย)
3) ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใด จากหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ได้แก่
เงินสงเคราะห์บุตรจากกองทุนประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ และไม่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐ เช่น บ้านพักเด็กและครอบครัว สถานสงเคราะห์ของรัฐ
หญิงตั้งครรภ์ :
1) มีกำหนดคลอดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559
2) อยู่ในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน
เด็กแรกเกิด :
1) เกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2560
2) มีสัญชาติไทย (บิดาและมารดา หรือบิดา หรือมารดา เป็นผู้มีสัญชาติไทย)
3) ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใด จากหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ได้แก่
เงินสงเคราะห์บุตรจากกองทุนประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ และไม่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐ เช่น บ้านพักเด็กและครอบครัว สถานสงเคราะห์ของรัฐ
หญิงตั้งครรภ์ :
1) มีกําหนดคลอดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2560
2) อยู่ในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน
หญิงตั้งครรภ์สามารถยื่นลงทะเบียนไว้ก่อนได้ ทั้งนี้ หากการคลอดบุตรในภายหลัง ไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559 ให้ถือว่าสิทธิ์ที่ลงทะเบียนไว้ถูกระงับไปโดยปริยาย
– กรณีมารดาเด็กเป็นคนต่างด้าว หรือไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร์ หรือเสียชีวิต อนุโลมให้บิดาเด็กสัญชาติไทยตามสูติบัตร ลงทะเบียนแทนมารดาเด็กได้หลังจากเด็กเกิดแล้ว โดยให้นำเอกสารหลักฐานของบิดาเด็กและมารดาเด็กในกรณีดังกล่าว ที่ออกให้โดยหน่วยงานของรัฐมายื่นเพื่อแสดงความจานงขอรับสิทธิ์
– กรณีอยู่ในความดูแลของบ้านพักเด็กและครอบครัว หรือสถานสงเคราะห์ของรัฐ จะไม่ได้รับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เนื่องจากได้รับการดูแลจากภาครัฐ แต่หากมีคุณสมบัติ สามารถขอรับสิทธิ์เงิน อุดหนุนได้ แต่จะได้รับ เงินเฉพาะเดือนที่ไม่อยู่ในความดูแลของบ้านพักเด็กและครอบครัว หรือสถานสงเคราะห์ของรัฐ (หลังออกจากบ้านพักเด็กและครอบครัวหรือสถานสงเคราะห์ของรัฐแล้ว)
ครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน
หมายถึง ครัวเรือนที่สมาชิกในครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 3,000 บาท ต่อคน ต่อเดือน หรือต่ำกว่า 36,000 บาท ต่อคน ต่อปี โดยนำรายได้ของสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว หารด้วยจำนวนสมาชิกทั้งหมดในครอบครัวซึ่งรวมเด็กแรกเกิดด้วยในความเป็นจริงการสอบถามรายได้อาจไม่ได้ข้อมูลที่ตรงกับข้อเท็จจริง จึงจำเป็นต้องใช้การประเมิน
ความยากจนระดับครัวเรือน ด้วยข้อมูลสถานะของครัวเรือนมาประกอบการพิจารณาด้วย
โดยต้องมีข้อเท็จจริงข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
1) ครอบครัวมีภาระพึ่งพิง ได้แก่ ในครอบครัวมีคนพิการ หรือผู้สูงอายุ หรือเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีหรือคนว่างงาน อายุ 15 – 65 ปี หรือเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว
2) สภาพที่อยู่อาศัย สภาพบ้านชำรุดทรุดโทรม บ้านทำจากวัสดุพื้นบ้าน เช่น ไม้ไผ่ ใบจาก หรือวัสดุเหลือใช้ หรืออยู่บ้านเช่า
3) ไม่มีรถยนต์ส่วนบุคคล รถปิกอัพ รถบรรทุกเล็ก รถตู้
4) เป็นเกษตรกรที่มีที่ดินทากินไม่เกิน 1 ไร่
การรับรองความยากจนในแบบรับรองสถานะของครัวเรือน ต้องมีผู้รับรอง 2 คน ดังนี้
ผู้รับรองคนที่ 1
– กรุงเทพมหานคร : ประธานกรรมการชุมชน หรือหัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมประจำสำนักงานเขต
– เมืองพัทยา : ประธานชุมชน หรืออาสาสมัครสาธารณสุขเมืองพัทยา
– เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล : อพม. หรือ อสม.
– บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ สถานสงเคราะห์ของรัฐ : เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ เจ้าหน้าที่สถานสงเคราะห์
ผู้รับรองคนที่ 2
– กรุงเทพมหานคร : ผู้อำนวยการเขต หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
– เมืองพัทยา : ปลัดเมืองพัทยา หรือรองปลัดเมืองพัทยาที่ได้รับมอบหมาย
– เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล : ปลัดเทศบาล หรือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล หรือผู้ที่ปลัดมอบหมายหรือกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน
– บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ สถานสงเคราะห์ของรัฐ : หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์
เอกสารหลักฐานประกอบการลงทะเบียน มีดังนี้
1. แบบลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์ ฯ (แบบ ดร.01)
2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (แบบ ดร.02)
3. สาเนาบัตรประจาตัวประชาชนของหญิงตั้งครรภ์ หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ
5. สาเนาสูติบัตรเด็กแรกเกิด (ยื่นหลังคลอด) ที่ได้รับการรับรองแล้ว
4. สาเนาเอกสารแสดงการฝากครรภ์ หรือ สาเนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หน้า 1
6. สาเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย (กรณีประสงค์รับเงินผ่านบัญชีธนาคาร)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) หรือ กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) โทร. 02-651-6532 และศูนย์ช่วยเหลือสังคม OSCC โทร. 1300 ตลอด 24 ชม.
ขอบคุณข้อมูล : กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.)