12 ข้อ ที่ทำให้ชีวิตของคุณอยู่ในภาวะหดหู่

ในโลกของเราปัจจุบัน มีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง จนทำให้ใครหลายคนตกอยู่ในสภาวะหดหู่ ซึมเศร้า กลัดกลุ้มใจ รู้สึกชีวิตหม่นหมองและไม่สามารถหาทางออกได้  ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ได้นะ ไปดูกัน

  1. แยกตัว
    ภาวะซึมเศร้า มักทำให้เราคิดว่าไม่มีใครอยากยุ่งกับเรา ทำให้เราต้องการปลีกตัวออกจากกลุ่ม  แต่ผลวิจัยเผยว่าการเข้าสังคมเป็นหนึ่งในวิธีที่พิสูจน์แล้วว่าเราสามารถป้องกันและรักษาภาวะอาการซึมเศร้าได้ งั้นก็ป๊ะหาเพื่อนเที่ยวกันไปเลยจ้า

 

  1. เศร้าโศก
    เคยมีประสบการณ์ที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งเต็มไปด้วยความโศรกเศ้ราหรือมีอาการเก็บกดจากความเศ้ราติดต่อกันเป็นเวลานาน โอกาสที่จะเข้าไปสู่ภาวะซึมเศร้าก็มีสูง จนทำให้เกิดอาการหงุดหงิด โมโหง่าย อารมณ์แปรปรวน รวมถึงมันอาจรบกวนวงจรการนอนหลับหรือการรับประทานอาหาร ทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงหรือความสูญเสีย ดังนั้นพยายามลืมมันไปซะ! แล้วเริ่มต้นใหม่ได้แล้ว
  1. อดนอน
    ความอ่อนเพลียมีผลต่ออารมณ์ ระดับพลังงาน และกระบวนการคิดต่างๆ ปัญหาคือภาวะซึมเศร้าอาจรบกวนการนอนหลับและกลายเป็นวงจรที่บั่นทอนสุขภาพ บางทีความผิดปกติเหล่านี้อาจเกี่ยวโยงกับภาวะซึมเศร้าก็ได้ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนไม่หลับ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับได้
  1. ความหมายในชีวิตที่หายไป
    เราสามารถค้นหาความหมายที่ทำให้เรามีความสุขได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะมาจากการทำงาน ความรัก/ความสัมพันธ์ หรือจากกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการและได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก นั่นก็นับว่าเป็นสัญญาณเปลี่ยนแปลงที่ดีที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ดังนั้นพอได้ทำสิ่งที่ตัวเองรัก เราก็สามารถแบ่งปันความสุขให้คนรอบข้างได้
  1. ไม่ฟังเสียงที่อยู่ภายใน
    การที่เราฟังเสียงเชิงลบจากคนรอบข้างมากกกว่าเสียงที่ดังมาจากภายในของตัวเอง ถ้าคุณลองคิดดูว่าคุณจะรู้สึกไร้ค่าขนาดไหนหากเพื่อน หุ้นส่วน หรือพ่อแม่พูดจาดูถูกคุณตลอดเวลา คุณควรสนใจเสียงที่ดังมาจากภายในตัวคุณมากกว่ารับฟังเสียงจากคนอื่นๆ มันหมายความว่าอย่างศึกษาพบว่าการรู้จักคุณค่าของตัวเองสามารถรักษาภาวะซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี ขณะที่การบำบัดก็มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพไม่แพ้กัน
  1. ไม่ออกกำลังกาย
    การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมการเข้าสังคมในอีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้ ไม่ว่าจะเป็นการเดินไปรอบๆหรือเล่นโยคะ และอย่าลืมหาเพื่อนร่วมเดินด้วยก็ดีนะ
  1. ห่างเหินจากธรรมชาติ
    “การรักษาเชิงนิเวศ” หรือ “สีเขียวบำบัด” ซึ่งจะช่วยทำให้เรารู้สึกสงบ ลองออกไปสัมผัสกับธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยรักษาภาวะซึมเศร้าได้
  1. ขาดสารอาหารที่มีประโยชน์
    อาการขาดสารอาหารหรือการแพ้อาหารต่างๆ  สามารถส่งผลไปถึงภาวะซึมเศร้าได้นะ เพราะอาหารแต่ละอย่างก็มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการได้รับแตกต่างกันไป ดังนั้นทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและอย่าลืมทานแต่พอดีด้วยนะจ๊ะ เดี๋ยวจะแก้มยุ้ยไม่รู้ตัวเด้อ
  1. ความเครียด
    การที่เราเครียดสะสมจนเรื้อรังอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า การคลายความกังวลหรือลดระดับความคาดหวังลงไปบ้างลองปล่อยให้ตัวเองทำผิดพลาดได้บ้าง ขอความช่วยเหลือ หยุดพักบ้างอะไรบ้าง แล้วสนุกไปกับชีวิตกันเถอะ
  1. ทำแต่งาน
    การมุ่งมั่น ตั้งใจทำงานเป็นเรื่องที่ดีมากๆ เลยแหละ แต่อะไรที่มากจนเกินไปก็จะทำให้เราเครียดอาจจะนำปู่ภาวะซึมเศร้าได้นะ ดังนั้นให้เวลากับตัวเองได้ผ่อนคลายบ้างไม่ว่าจะเป็นการหากิจกรรมที่ชื่นชอบทำ ซึ่งอาจจะแค่นอนพักผ่อนหรือดูซีรีส์บนโซฟาก็ได้
  1. ฮอร์โมนไม่สมดุล
    การที่ฮอร์โมนไม่สมดุลหรือขาดเอสโตรเจน โปรเจสเทอโรน และคอร์ติซอล ล้วนส่งผลต่อภาวะซึมเศร้า ไม่งั้นลองไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดดูอีกทีก็ได้นะ
  1. เก็บกด
    คนเรามีทั้งความรู้สึกหลักและความรู้สึกรอง ความรู้สึกหลักได้แก่ ความโศกเศร้า ความโกรธ ความวิตกกังวล หรือความเหงา ขณะที่ความรู้สึกรองจะเกิดขึ้นต่อจากความรู้สึกหลัก บางสถานการณ์ที่เราอาจจะพลาดจนทำให้รู้สึกเศร้า หดหู่ แต่เรากลับกดความรู้สึกนั้นลงไป ลองปลดปล่อยให้ตัวเองได้สัมผัสกับความรู้สึกเหล่านั้นและทำความเข้าใจกับมัน อื้ม แค่นี้แหละ  ความรู้สึกที่หนักอึ้งนั้นจะเบาลงไปเลย

เรียบเรียงจาก issue247.com