ในชีวิตประจำวันของเรา อาจจะมีบางครั้งที่เรารู้สึกวิตกกังวลกับเรื่องบางเรื่องซึ่งแต่ละคนก็จะมีวิธีการที่จะทำให้ความวิตกกังวลนั้นลดลงไป แต่หากวิตกกังวลมาก จนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เราเองกำลังเข้าข่ายเสี่ยงที่จะเป็น”โรควิตกกังวล”ก็เป็นได้
โรควิตกกังวลในเด็กและวัยรุ่น
โรควิตกกังวลเป็นโรคทางจิตเวชที่พบบ่อยและเริ่มมีอาการในวัยเด็ก โดยที่พ่อแม่ของเด็กและวัยรุ่นที่เป็นโรควิตกกังวลมักบอกว่า ผู้ป่วยมีอาการหรือพฤติกรรม ดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมทางวิชาการหรือทางสังคม
- มีอาการทางกาย (ปวดหัว ปวดท้อง)
- มีปัญหาด้านการนอนหลับ
- ต้องการการรับรองอย่างมาก (มักเกี่ยวกับความกลัวในสิ่งร้ายๆ ที่อาจเกิดขึ้น)
- ผลการเรียนไม่ดี
- มีพฤติกรรมก้าวร้าว
- มีปัญหาด้านการกิน (กินน้อยหรือกินมากจนเกินไป)
ความชุกของการเกิดโรค
โรควิตกกังวลเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป โดยศูนย์ป้องกันและควบบคุมโรคได้ประมาณตัวเลขไว้อยู่ที่ประมาณ 15% ของประชากรที่จะเป็นโรควิตกกังวลขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย 60% และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการของโรคนี้ในช่วงวัยเด็ก โดยอายุเฉลี่ยของการเริ่มเป็นโรคอยู่ที่ 11 ปี
โรควิตกกังวลเกิดจากสาเหตุอะไร?
มีปัจจัยหลายยอย่างที่สามารถทำให้เกิดโรควิตกกังวล ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากผลรวมระหว่างประสบการณ์ส่วนตัวและปัจจัยทางพันธุกรรมที่ยังระบุไม่ได้ โรคนี้อาจมีการถ่ายทอดในครอบครัว โดยเด็กที่มีพ่อแม่เป็นโรควิตกกังวลจะมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากขึ้น เหตุการณ์ความเครียดหรือที่กระทบต่อจิตใจ เช่น การเสียชีวิตของคนที่รัก สามารถทำให้เกิดโรควิตกกังวลได้ในบางคน ไม่ใช่ทุกคนที่เมื่อพบกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจแล้วจะกลายเป็นโรควิตกกังวล และไม่ใช่ผู้ป่วยโรควิตกกังวลทุกคนที่จะเคยประสบกับเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจมาก่อน
อย่าลืมเช็คตัวเองกันด้วยนะ หากเราวิตกกังวลจนเข้าข่ายตามที่บอกไป แนะนำให้ลองเข้าไปปรึกษากับนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ดูนะจ๊ะ
ข้อมูลจาก https://www.honestdocs.co/anxiety