ข้อดีของการทําแท้งโดยใช้ยาคือไม่ต้องทําหัตถการที่รุนแรง สามารถทําเองได้ที่บ้าน แต่อาจใช้ระยะเวลาหลายวัน ทําให้ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยมาก อัตราความสำเร็จต่ำกว่า surgical abortion เล็กน้อย มักมีอาการปวดท้อง และ เลือดออก ซึ่งเป็นอาการปกติของกระบวนการแท้ง
การทําแท้งโดยใช้ยา เหมาะกับช่วงอายุครรภ์ระหว่าง 2 ถึง 9 สัปดาห์ หรือไม่เกิน 63 วัน(ACOG2016) สามารถทําในอายุครรภ์ที่มากกว่านี้ได้ เเต่อัตราความสำเร็จจะลดตํ่าลง
ข้อห้ามในการใช้ยาในการยุติการตั้งครรภ์ ได้แก่
- ผู้ที่ใช้ห่วงคุมกําเนิด
- ผู้ที่มีภาวะซีดรุนแรง
- ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือใช้ยาป้องกันการเเข็งตัวของเลือด
- ผู้ที่มีประวัติการใช้ corticosteroid เป็นระยะเวลานาน
- ต่อมหมวกไตล้มเหลวเรื้อรัง
- Inherited porphyria
- โรคตับ โรคไต หรือ โรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างรุนแรง
- โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
- การตั้งครรภ์นอกมดลูก
- โรคหอบหืดที่ต้องใช้ยาควบคุมอาการ
ยาที่ใช้ในการยุติการตั้งครรภ์
ยาที่ถูกใช้ในการยุติการตั้งครรภ์มี 3 กลุ่ม คือ Mifepristone, Misoprostol และ ยาชนิดอื่น ๆ เช่น Methotrexate
ยาที่นิยมใช้คือ Mifepristone และ Misoprostol โดยขนาดและวิธีการให้มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละหลักแนะนํา มีทั้งแบบที่ใช้ร่วมกัน และเเบบที่ใช้ Misoprostol เพียงตัวเดียว ซึ่งประสิทธิภาพในวิธีที่ใช้ยาร่วมกันจะดีกว่า
ขนาดและวิธีการให้ยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์
ขนาดยาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางสำหรับการยุติการตั้งครรภ์ที่อายคุรรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ตามคําแนะนําจากองค์กรอนามัยโลก คือ Mifepristone 200 mg รับประทาน 1 ครั้ง ตามด้วย Misoprostol 800 mcg เหน็บช่องคลอด หรือ อมใต้ลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม ที่ 24-48 ชั่วโมง หลังได้ Mifepristone โดยปกติการแท้งจะเกิดขึ้นภายใน 4-6 ชั่วโมงหลังได้รับ Misoprostol แต่อาจใช้เวลานานกว่านั้น
วิธีการให้อื่นๆ ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา(U.S.FDA) คือ Mifepristone 600 mg รับประทาน 1 ครั้ง ตามด้วย Misoprostol 400 mcg รับประทานที่ 48 ชั่วโมงหลังจากได้รับ Mifepristone
อาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากการยุตกิารตั้งครรภ์โดยใช้ยา
อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดในการยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ยาคือ ภาวะเลือดออก และ อาการปวดท้อง ซึ่งเป็นอาการของกระบวนการแท้งนั่นเอง
อาการอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับ Mifepristone คือ คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ และ มีไข้ สำหรับ Misoprostol ผลข้างเคียงขึ้นกับขนาดวิธีการให้ยา และอายุครรภ์ การให้โดยการเหน็บช่องคลอดจะเกิดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารน้อยกว่าการให้โดยการรับประทาน อมในกระพุ้งแก้มหรืออมใต้ลิ้น
หากมีอาการอาเจียนยาออกมา
เมื่อมีอาการคลื่นไส้ สามารถใช้ยาแก้อาการคลื่นไส้ ดอมเพอริโดน (Domperidone) และเมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) โดยจะไม่มีผลรบกวนกระบวนการยุติการตั้งครรภ์
กรณีที่อาเจียนยาไมเฟฟริสโตน (Mifepristone) ออกมาหลังจากกินยาไปน้อยกว่าครึ่งชั่วโมง อาจจะทําให้ประสิทธิภาพของยาด้อยลง อย่างไรก็ตามสามารถดําเนินการใช้ไมโซพรอสทอล (Misoprostol) ต่อไป กรณีที่อาเจียนยาไมเฟฟริสโตนออกมาหลังจากกินยาไปมากกว่าครึ่งชั่วโมง จะไม่มีปัญหาอะไรเพราะยาได้ถูกดูดซึมเข้าร่างกายแล้ว
ไมโซพรอสทอลจะทํางานได้อย่างมีประสทิธิภาพหากอมยาระหว่างฟันกรามและกระพุ้งแก้มเป็นเวลา 30 นาทีโดยไม่อาเจียนออกมา หากอาเจียนก่อน 30 นาที ควรอมไมโซพรอสทอลเม็ดใหม่
การให้ยาบรรเทาปวด
สามารถให้ได้ โดยแนะนําเป็นยาในกลุ่ม NSAID เช่น Ibuprofen รับประทานเมื่อมีอาการ ซึ่งให้ผลดีกว่า ยากลุ่ม Acetaminophen
ไม่นิยมให้ยาปฏิชีวนะในการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยาในไตรมาสแรก เพราะอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง และอาจทําให้เกิดปัญหาการดื้อยาตามมาได้
การติดตามอาการ
นัดติดตามอาการ 2 สัปดาห์ โดยการประเมินจากประวัติเลือดออกและตรวจภายในดูขนาดของมดลูก ก็เพียงพอที่จะยืนยันความสำเร็จในการยุติการตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อน
การตรวจอื่นๆ ที่มีความแม่นยํากว่า คือ การตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด สามารถทําได้ 1 สัปดาห์หลังได้รับยา การตรวจระดับ serum hCG ก่อนและหลังได้รับยา 1 สัปดาห์ และการติดตามอาการทางโทรศัพท์ 1 สัปดาห์ ร่วมกับการตรวจการตั้งครรภ์ทางปัสสาวะที่ 2 หรือ 4 สัปดาห์
หลังจากการทําแท้งโดยการกินยา ควรรับการตรวจเลือดและพบแพทย์เพื่อให้เเน่ใจว่าการยุติการตั้งครรภ์ได้ดําเนินไปอย่างสมบรูณ์และไม่มีการตั้งครรภ์อีกต่อไป และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่อไปนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อระหว่างสัปดาห์แรกของการทําแท้ง อันได้แก่
- สอดใส่อะไรเข้าไปในช่องคลอด รวมทั้งผ้าอนามัยเเบบสอดใส่(แทมพอน)
- มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด
- ทํางานที่ต้องใช้แรงอย่างหนัก รวมทั้งการเล่นกีฬาหรือการทํางานที่ต้องใช้แรง จนกว่าอาการเลือดออกจะยุติลง และ หลีกเลี่ยงการว่ายนำ้ หรืออาบน้ำในอ่าง โดยใช้วิธีการอาบน้ำจากฝักบัวแทน
การคุมกำเนิดหลังการยุติการตั้งครรภ์มีความสำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ตามมาอีก ซึ่งใช้ได้ทั้งยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน และการใส่ IUD โดยสามารถเริ่มได้ทันทีหลังการยุติการตั้งครรภ์
ถ้าต้องการยุติการตั้งครรภ์ต้องทําอย่างไร?
ในประเทศไทย ยายุติการตั้งครรภ์ ไม่ได้วางจำหน่ายไว้ในร้านขายยาทั่วไปหรือจำหน่าย online ถ้าท้องไม่พร้อม แล้วอยากได้ข้อมูลว่ามีทางเลือกอะไรบ้าง รวมถึงข้อมูลการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย สามารถปรึกษาห้องแชทเลิฟแคร์ได้ทาง https://www.lovecarestation.com/ เวลา 16.00-24.00 น. หรือ โทรสายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663 เวลา 9.00-21.00 น. หรือเพจ 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม https://www.facebook.com/1663telephonecsg
SCORA x Lovecarestation
อ้างอิง
Induced abortion by เลอเกียรติ คำประดิษฐ์(29 December 2019). In Faculty of Medicine, Chiang Mai University. Retrieved 4 July 2020 from, https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1539:induced-abortion-n&catid=45:topic-review&Itemid=561
.ฉันใช้ไมเฟพริสโตนและไมโซพรอสทอล. In Women Help Women.(n.d.). Retrieved 4 July 2020 from, https://consult.womenhelp.org/th/page/400/
ยายุติการตั้งครรภ์/ยาทำแท้ง คืออะไร ประกอบด้วยยาอะไรบ้าง. In เครือข่ายอาสาเพื่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย.(n.d.). Retrieved 4 July 2020 from, https://www.rsathai.org/contents/15277
Abortion procedure – medication. In Health and Human Services Victoria.(n.d.). Retrieved 4 July 2020 from, http://healthtranslations.vic.gov.au/
จัดทำโดย
สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย (IFMSA-Thailand)
-Content Creator
นายธงทอง ธงทอง นิสิตเเพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะเเพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นางสาวปริชญา จันทร์ผ่อง นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
-Artwork
นางสาวภูวดี สีลกันตสูติ นิสิตเเพทย์ชั้นปีที่ 2 โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
นางสาวมนสิชา เลิศสุวรรณโรจน์ นิสิตเเพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะเเพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-Editor
นางสาวมณีพรรณราย จิวจินดา นิสิตเเพทย์ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยแพทย์จุฬาภรณ์
นางสาวมินนี่ ผดุงเกียรติสกุล นิสิตเเพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล