การรังแกกัน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานในสังคมรั้วโรงเรียน จนบางครั้ง คนที่อยู่ในสังคมโรงเรียน อย่างเราเอง ก็อาจคิดไม่ถึงว่า การกระทำบางครั้งของเพื่อนร่วมชั้น ร่วมห้อง หรือแม้แต่เพื่อนสนิทที่ใกล้ชิดกับตัวเราเองนั้น ก็เป็นการรังแกด้วย
แล้วรู้หรือไม่ว่า ยังมีนักเรียนในโรงเรียนบางคน ได้รับผลกระทบเพราะการรังแก จนไม่สามารถมาโรงเรียนได้อย่างมีความสุขเหมือนคนอื่นๆ ชึ่งในบทความนี้เลิฟแคร์จะพาไปรู้จักว่า การรังแกกันคืออะไร พร้อมแล้วไปกันเลย
พฤติกรรมการรังแก หมายถึง การแสดงออก หรือการกระทำในลักษณะที่รุนแรง โดยมีจุดมุ่งหมายในการทำร้ายจิตใจ โดยวิธีต่างๆ เช่น บังคบ ขู่เข็ญ คุกคาม ทุบตี ล้อเลียน กีดกันออกจากสังคม หรือจำกัดเสรีภาพ จิตใจ เนื่องจากผู้รังแกมีเจตนาทำร้ายทั้งทางร่างกาย หรือจิตใจ ทำให้พฤติกรรมการรังแก ถือเป็นความรุนแรงรูปแบบหนึ่ง
การรังแกต่างจาก หยอกเล่น และ การทะเลาะยังไง???
การรังแก เป็นการกระทำที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่าย โดยที่อีกฝ่ายไม่สามารถตอบโต้ได้ และเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กระทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จึงจะเรียกว่าเป็นการรังแก หรือในบางกรณีการกระทำครั้งเดียวแต่มีผลกระทบกับผู้ถูกกระทำ ก็ถือว่าเป็นการรังแก
สำหรับการหยอกเล่น อันนี้อาจจะดูยากไปนิด ต้องใช้การสังเกตความรู้สึกของคนถูกหยอกเล่น รวมถึงความสนิทสนมพวกเขาด้วยนะ เล่น คือ ต้องสนุกทั้งสองฝ่าย (แต่ถ้าฝ่ายใดผ่ายหนึ่งไม่สนุกด้วย ก็ถือเป็นการรังแก โดยใช้ความรู้สึกของคนถูกกระทำเป็นตัววัด) ส่วนการทะเลาะ ทั้งสองฝ่ายจะอยู่ในสถานะที่ตอบโต้กันได้
การรังแก สามารถแยกออกมาได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่
- การรังแกทางร่างกาย (Physical stopbullying) เช่น การต่อย ตี ผลัก สัมผัสบริเวณที่ไม่เหมาะสม
- การรังแกทางวาจา(Verbal stopbullying) เช่น การพูดเสียดสี การพูดจาล่วงละเมิด การล้อเลียน การแสดงความคิดเห็นในเชิงลบต่อบุคคลอื่นๆ เช่น้เรื่องรูปร่างหน้าตา
- การรังแกทางสังคม(Rerational stopbullying) เช่น การปล่อยข่าวลือด้านลบของคนอื่น กีดกันเพื่อนออกจากกลุ่ม เมินเฉยต่อผู้อื่น
- การรังแกกันบนสื่อออนไลน์ (Cyber stopbullying) เช่น การปลอมโปรไฟล์ การโพสข้อความโจมตีผู้อื่นเป็นต้น
ทีนี้พอรู้กันบ้างแล้วว่าการรังแกคืออะไร ลองสังเกตดูว่า ที่เราเล่นกับพื่อนทุกวันเนี่ย ใช่การรังแกกันรึเปล่า ติดตามเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับการรังแกได้ที่ เลิฟแคร์สเตชั่น
ขอบคุณข้อมูลจาก
นวิยา นิยมธรรม.ศึกษาพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายถึงระดับชั้นมัถธยมศึกษาตอนต้นในประเทศญี่ปุ่นกรณีศึกษาผู้ถูกรังแก.ปริญญานิพนธ์,สาขาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2558.
คณะผู้วิจัย.การรังแกต่อกลุ่มนักเรียนที่เป็นหรือถูกมองว่าเป้นคนข้ามเพสหรือคนรักเพสเดียวกัน ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา : รูปแบบ ความชุก ผลกระทบ แรงจูงใจ และมาตรการการป้องกัน ใน 5 จังหวัดของประเทศไทย. องค์การยูเสโก Plan International และมหาวิทยาลัยมหิดล.