คุณเคยสงสัยไหมว่าภาวะประจำเดือนผิดปกติเกิดได้จากสาเหตุอะไรบ้าง โดยทั่วไปแล้วหลายคนอาจจะคิดว่าการมีประจำเดือนมาไม่ปกติไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่ที่จริงแล้วภาวะประจำเดือนผิดปกติก็สามารถเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคอื่นๆได้เช่นกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) โดยอาการที่มักจะพบร่วมกับการมีประจำเดือนผิดปกติได้แก่ การมีผิวหนังคล้ำบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ ภาวะผมบางและหัวล้าน และการที่มีขนขึ้นตามใบหน้าแผ่นหลังและหน้าอก โดยทั่วไปแล้ว PCOS นั้นพบได้ในผู้หญิงทุกช่วงอายุ แต่มักจะเด่นในวัยรุ่น และจากการสำรวจพบว่าวัยรุ่นไทยมีอัตราการเกิดโรคอยู่ที่ 5.29%
สาเหตุหลักของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคคือ
- สารพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมาผิดปกติ
- ระดับฮอร์โมนอินซูลิน(ฮอร์โมนที่ใช้ดึงน้ำตาลจากเลือดมาสร้างพลังงานให้กับเซลล์) ในเลือดที่สูงเกินไปจะไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเพศชายจากรังไข่
- นอกจากนี้ความอ้วนยังมีผลด้วย
- กระบวนการอักเสบในร่างกาย งานวิจัยพบว่าการอักเสบนี้กระตุ้นให้เกิดการผลิตฮอร์โมนเพศชายจากรังไข่ที่เพิ่มมากขึ้น และก่อให้เกิดความผิดปกติ
- ฮอร์โมนเพศชายที่มากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ขนดก และการเกิดสิว และยังทำให้ไข่ตกยาก
แล้วทำไมไข่ถึงไม่ตก?
ภาวะประจำเดือนผิดปกติ (PCOS) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้หญิงมีบุตรยาก จากการที่ไข่ในรังไข่ของสาวๆไม่ตกออกมา ซึ่งสาเหตุมาจากอะไรกันแน่
ในรอบเดือนปกติ จะมีการหนาตัวของผนังมดลูก และการที่ถุงไข่เจริญเติบโตเป็นไข่ที่พร้อมตก ซึ่งกระบวนการนี้จะถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนต่าง ๆ ด้วยระดับที่ไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา
กรณีของ ภาวะประจำเดือนผิดปกติ(PCOS) พบว่ามีถุงไข่ที่ไม่สามารถเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ได้ สะสมในรังไข่ ซึ่งเกิดจากการที่ฮอร์โมนที่ช่วยให้ถุงไข่เติบโต ต่ำเกินกว่าจะถึงเกณฑ์ที่ช่วยให้ถุงไข่นั้นเติบโตได้
นอกจากนี้การมีฮอร์โมนเพศชายที่สูงเกินไป ยังส่งผลให้เซลล์หลั่งฮอร์โมนในถุงไข่ทำหน้าที่ผิดปกติไปยิ่งกว่าเดิม
อาการของภาวะ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
อาการอาจแตกต่างในรายบุคคล แต่โดยรวมเป็นดังนี้
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ โดยหลักๆคือการที่รอบเดือนห่างกันมากกว่า 35 วัน หรือมีรอบเดือน 4-9 ครั้งต่อปี หรือในบางรายอาจมีรอบเดือนถี่ทุกๆ 21 วันหรือถี่กว่านั้น บางรายอาจไม่มีรอบเดือนเลย
- มีขนขึ้นตามใบหน้า คาง หรือร่างกาย ในรูปแบบคล้ายกับการขนขึ้นหรือหนวดขึ้นในเพศชาย
- อ้วน น้ำหนักขึ้น หรือลดน้ำหนักยาก
- ผมบาง ผมร่วง
- ผิวมัน เป็นสิว
- มีบุตรยาก
- อาการอื่นๆ เช่น ความต้องการทางเพศลดลง รอยดำตามซอกข้อพับ ขาหนีบ คอ เป็นต้น
การวินิจฉัย
ปัจจุบันยังไม่มีการทดสอบสำหรับโรคนี้โดยเฉพาะ แพทย์ผู้ให้การรักษาจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะต้องทำการตรวจสอบใดบ้าง
- แพทย์จะทำการซักประวัติครอบครัว รอบเดือน การใช้ยาคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ เป็นต้น
- ตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต คำนวณค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index, BMI) รอบเอว และลักษณะของโรคอื่นๆ เช่น ขน สิว เป็นต้น
- เจาะเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนเพศชายและฮอร์โมนอื่นๆ รวมถึงดูระดับน้ำตาล ไขมัน คลอเรสเตอรอล ในเลือด
- ตรวจภายใน เพื่อดูลักษณะที่แสดงถึงการมีฮอร์โมนเพศชายสูง เช่น คลิตอริส ขยาย และสังเกตการขยายตัวของรังไข่
- การอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกราน หรือการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจดูรังไข่ เพื่อหาถุงน้ำ และตรวจดูผนังมดลูก
ถึงแม้ว่าภาวะ PCOS จะเป็นกลุ่มของอาการที่ไม่ได้รุนแรงถึงแก่ชีวิต แต่ก็สามารถทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมาได้เช่น ภาวะดื้อต่อฮอร์โมน Insulin ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus Type 2) หรืออาจจะทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงซึ่งก็สามารถทำให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือดและโรคความดันโลหิตสูงตามมาได้ โดยภาวะ PCOS มักจะพบร่วมกับผู้ป่วยที่มีโรคอ้วนและในบางรายก็สามารถพบภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ และนอกจากนั้นแล้วผู้ที่มีโรค PCOS ก็อาจะมีปัญหาทางด้านจิตใจตามมาจากการขาดความมั่นใจในรูปลักษณ์ของตัวเอง
การใช้ชีวิตร่วมกับภาวะ ภาวะประจำเดือนผิดปกติ (PCOS)
ในปัจจุบันยังไม่มีหนทางการรักษาภาวะ pcos โดยเฉพาะ แต่เราก็สามารถลดอาการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้ได้ โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต รักษาตามอาการ เพื่ออยู่รวมกับมันได้
- ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยทำให้รอบเดือนกลับมาปกติมากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการมีบุตร
- การรักษาตามอาการโดยการใช้ยา โดยทั้งหมดจะอยู่ในการดูแลของแพทย์
- ในผู้ที่ต้องการมีบุตร แพทย์อาจพิจารณาการใช้ยากระตุ้นการตกไข่ บางรายอาจพิจารณาการผสมเทียม ในบางกรณีอาจรักษาด้วยการผ่าตัด
ยังไงก็ตาม หัวใจในการควบคุมอาการต่างๆของ pcos คือการควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ลดการบริโภคอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงความเครียด และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
อ้างอิง
American College of Obstetricians and Gynecologists. (2020, June). Polycystic Ovary Syndrome (PCOS). American College of Obstetricians and Gynecologists. https://www.acog.org/womens-health/faqs/polycystic-ovary-syndrome-pcos?utm_source=redirect&utm_medium=web&utm_campaign=otn.
Eftekhar, T., Sohrabvand, F., Zabandan, N., Shariat, M., Haghollahi, F., & Ghahghaei-Nezamabadi, A. (2014). Sexual dysfunction in patients with polycystic ovary syndrome and its affected domains. Iranian journal of reproductive medicine, 12(8), 539–546.
Franks, S., Stark, J., & Hardy, K. (2008). Follicle dynamics and anovulation in polycystic ovary syndrome. Human Reproduction Update, 14(4), 367–378. https://doi.org/10.1093/humupd/dmn015
Grigorescu, V., Plowden, T. C., & Pal, L. (2019, April 1). Polycystic ovary syndrome. Office on Women’s Health . https://www.womenshealth.gov/a-z-topics/polycystic-ovary-syndrome.
The Johns Hopkins University. (n.d.). Polycystic Ovary Syndrome (PCOS). Johns Hopkins Medicine. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/polycystic-ovary-syndrome-pcos.
Johnson, T. C. (Ed.). (2021, March 14). What Are the Complications of PCOS? . WebMD. https://www.webmd.com/women/complications-pcos.
Kaewnin, J., Vallibhakara, O., Arj-Ong Vallibhakara, S., Wattanakrai, P., Butsripoom, B., Somsook, E., Hongsanguansri, S., & Sophonsritsuk, A. (2017). Prevalence of polycystic ovary syndrome in Thai University adolescents. Gynecological Endocrinology, 34(6), 476–480. https://doi.org/10.1080/09513590.2017.1409716
Mayo Foundation for Medical Education and Research. (2020, October 3). Polycystic ovary syndrome (PCOS). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pcos/diagnosis-treatment/drc-20353443.
Mayo Foundation for Medical Education and Research. (2020, October 3). Polycystic ovary syndrome (PCOS). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pcos/symptoms-causes/syc-20353439.
NHS. (2019, February 1). Overview Polycystic ovary syndrome. NHS . https://www.nhs.uk/conditions/polycystic-ovary-syndrome-pcos/.
NHS. (2019, February 1). Symptoms Polycystic ovary syndrome. NHS . https://www.nhs.uk/conditions/polycystic-ovary-syndrome-pcos/symptoms/.
NHS. (2022, February 1). Causes Polycystic ovary syndrome . NHS . https://www.nhs.uk/conditions/polycystic-ovary-syndrome-pcos/causes/.
PCOS Awareness Association. (n.d.). PCOS Health Complications. PCOS Awareness Association. https://www.pcosaa.org/pcos-health-complications#:~:text=Besides%20fertility%20problems%2C%20PCOS%20complications,%2C%20obesity%2C%20and%20sleep%20apnea.
Rasquin Leon, L. I., & Mayrin, J. V. (2020). Polycystic Ovarian Disease. In StatPearls. StatPearls Publishing.
Riaz, Y., & Parekh, U. (2021). Oligomenorrhea. In StatPearls. StatPearls Publishing.
The Trustees of the University of Pennsylvania. (2014, May 12). PCOS and Sleep Apnea. Penn Medicine. https://www.pennmedicine.org/updates/blogs/fertility-blog/2014/may/pcos-and-sleep-apnea#:~:text=“For%20women%20with%20PCOS%2C%20sleep,depressed%20and%20experience%20unexplained%20moodiness.”
U.S. Department of Health and Human Services. (2017, January 31). Infertility and Fertility. Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. https://www.nichd.nih.gov/health/topics/infertility.
Watson, S. (2021, April 19). Polycystic Ovary Syndrome (PCOS): Symptoms, Causes, and Treatment. Healthline. https://www.healthline.com/health/polycystic-ovary-disease.
จัดทำโดย
สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย (IFMSA-Thailand)
Content creator
นางสาว อัคริมา วชิรคพรรณ คณะแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 โรงพยาบาลลัยรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
นายฐาปกรณ์ ยงพิพัฒน์วงศ์ คณะแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 โรงพยาบาลลัยรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
นางสาวสุจิตรา ทองทา คณะแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 โรงพยาบาลลัยรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Editor & Infographics
นางสาวสุพิชณาย์ อนุวงศ์วรเวทย์ นักศึกษาเเพทย์ชั้นปีที่ 2
วิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์