Toxic masculinity “ความเป็นชายที่…….”

Toxic masculinity

What is Toxic Masculinity?

คือ “ความเป็นชาย” ที่ส่งผลเชิงลบต่อสังคมและต่อตัวผู้ชายเองซึ่งเกิดจาก การปลูกฝังโดยสังคมและวัฒนธรรมตั้งแต่หลายหมื่นปีก่อน มนุษย์ที่นำพาเผ่าพันธุ์รอด มักเป็นผู้ชายที่สามารถต่อสู้และล่าได้ นิสัยที่พึงประสงค์เหล่านี้มักรวมถึงความรุนแรง ความก้าวร้าวและความแข็งแกร่ง ที่สามารถพิชิตผู้อื่นจนได้มาซึ่งอำนาจ และเป็นเสาหลักของครอบครัว ทำให้แนวคิด ‘ความเป็นชาย’ ถูกยึดโยงอยู่กับ ความแข็งแกร่งและความทรหด การไม่แสดงอารมณ์ การพึ่งตนเอง ไม่พึ่งพาผู้อื่น และต้องมีอำนาจที่เหนือกว่า สืบทอดมาถึงปัจจุบัน

Masculinity VS Toxic Masculinity

Masculinity (ความเป็นชาย) คือ ทัศนคติ อุปนิสัยและบทบาท ที่หล่อหลอมให้ผู้ชายและเด็กชาย ควรจะปฎิบัติในสังคม สามารถเกิดได้ทั้งในเพศชายและหญิง หากเกิดความรู้สึกกดดัน เครียดต่อเกณฑ์บรรทัดฐานของ ‘ความเป็นชาย’ ในสังคม หรือมีพฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าว จนก่อให้เกิดปัญหากับตนเองและสังคม เรียกว่า “Toxic Masculinity”

ผลของ Toxic masculinity ต่อสังคม
Toxic masculinity นั้นเป็นการกระทำที่ส่งเสริมความรุนแรงและก้าวร้าว เพื่อเป็นการพิสูจน์ความแข็งแกร่งและแข่งขันเปรียบเทียบกับอีกฝ่าย และอาจนำมาซึ่งการคุกคามทางเพศเพื่อพิสูจน์ว่ามีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่าย การรังเกียจหรือล้อเลียนพฤติกรรมที่แสดงถึงความอ่อนแอเพราะมีแนวคิดว่าความอ่อนแอเป็นพฤติกรรมของเพศหญิงตรงข้ามกับ ‘ความเป็นชาย’ และเกิดการรังเกียจผู้มีความหลากหลายทางเพศ (Homophobia) เพราะรังเกียจเพศชายที่มีพฤติกรรมแบบเพศหญิง เช่น ออกเดตกับเพศชาย

ผลของ Toxic masculinity ต่อตนเอง
จากแนวคิดที่ว่าด้วย ชายห้ามแสดงความอ่อนแอและไม่พึ่งผู้อื่น ทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ กดดัน และมีภาวะเครียดสะสมจนก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น ปัญหาการติดยาเสพติด การฆ่าตัวตาย

Spotting Toxic Masculinity: คุณกำลังเป็นเหยื่อของ Toxic Masculinity หรือไม่?
หากคุณมีความรังเกียจความอ่อนแอและมีพฤติกรรมก้าวร้าวเพื่อแสดงถึงอำนาจเหนือผู้อื่น รู้สึกกดดัน เพราะเกณฑ์บรรทัดฐานของ‘ความเป็นชาย’ ที่สังคมคาดหวัง หรือ ถูกล้อเลียน ถูกเหยียดเพศ และ ถูกคุกคามทางเพศ คุณอาจกำลังเป็นเหยื่อของToxic Masculinity อยู่

เราสามารถแก้ไข Toxic Masculinity ได้อย่างไร?
การแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยเริ่มต้นจากการ ‘พูดคุย’ กับผู้ชายที่มีภาวะ Toxic Masculinity ถึงการตระหนักว่า ความอ่อนโยน การช่วยเหลือเกื้อกูลและพึ่งพาอาศัยกันไม่ใช่พฤติกรรมที่อ่อนแอ หากเป็นพฤติกรรมที่ทำให้ตนเองและคนรอบข้างมีความสุขขึ้น สนับสนุนให้มีความกล้าที่จะแสดงด้านที่อ่อนไหว กล้าเรียนรู้ที่จะอ่อนแอและยอมรับจุดอ่อน เป็นการกระทำที่กล้าหาญ ที่นำไปสู่ความเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น และหยุดพฤติกรรมที่เชื่อว่า ‘ความเป็นชาย’ ต้องรุนแรงก้าวร้าว ต้องเหนือกว่า ทั้งนี้ควรพูดคุยด้วยความจริงใจ เปิดกว้างและไม่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกแย่
หากเป็นผู้ถูกกระทำหรือพบการกระทำเกี่ยวกับ Toxic masculinity ให้ ‘พูดออกไป (Speak out) ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง’ โดยเริ่มจากกลุ่มเพื่อนและคนใกล้ชิด

References

Timothy J. Legg, PhD.//(June 21, 2020).// What to know about toxic masculinity.//Retrieved Dec 15,2021,//from/https://www.medicalnewstoday.com/articles/toxic-masculinity.

Susannah Weiss.//(Feb 24, 2016).// 6 Harmful Effects Of Toxic Masculinity.//Retrieved Dec 15,2021,//from/https://www.bustle.com/articles/143644-6-harmful-effects-of-toxic-masculinity.

Nathan Irvine.//(Jan 1, 2021).// HOW TO COMBAT TOXIC MASCULINITY.//Retrieved Dec 16,2021,//from/ https://edgar.ae/articles/how-to-identify-and-deal-with-toxic-masculinity/.

The Health Service Executive and the Department of Children, Equality, Disability, Integration and Youth.//(Feb 7, 2019).// How to challenge toxic masculinity//Retrieved Dec 21,2021,//from/https://spunout.ie/life/bullying/how-to-challenge-toxic-masculinity.

สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย (IFMSA-Thailand)
Content creator
นางสาวญาดา อุดมวงศ์ศักดิ์ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Infographic
นางสาว กันต์กนิษฐ์ รุ่งอนันต์ชัย คณะแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

Editor
นางสาว สุพิชฌาย์ อนุวงศ์วรเวทย์ คณะแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์