กินดี ใจดี : การกินกับสุขภาพทางใจ

กินดี ใจดี : การกินกับสุขภาพทางใจ

เย็นนี้กินอะไรดี คำถามสำคัญของทั้งผู้ถามเพราะอยากเอาใจ ไปในร้านหรือการเลือกอาหารตามใจผู้ตอบ และยังสำคัญกับคนตอบ อาจเพราะอยากเอาใจใส่และให้คำตอบที่ดีที่สุดกับคนถาม และอาจตอบได้ยากเพราะ “ใจมันอยากกินซะทุกร้านทุกเมนู อาหารการกินจึงเป็นความสุขทางใจได้เป็นอย่างดี ด้วยหลายเหตุผล

1.กายกับใจไม่อาจแยกขาดจากกัน

อย่างไรก็ตามการกินกับความสุขทางใจก็ไม่อาจแยกออกจากกันด้วยเหตุผลเดียวกัน เพราะความสุขจากสารอาหารเป็นความสุขตามธรรมชาติ หากแต่การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการอาจส่งผลต่อสุขภาพทางใจได้ โดยมีความสัมพันธ์ระหว่างการขาดสารอาหารหรือมีสารอาหารบางชนิดมากเกินไปส่งผลต่ออาการซึมเศร้าได้มากกว่าร้อย 30 และ ดร. Margaret Morris มหาวิทยาลัย New South Wales พบว่าพิษของน้ำตาลมีบทบาทที่สำคัญต่อสุขภาพสมอง (Alzheimer) น้ำตาลจะไปยับยั้งฮอร์โมนที่เรียกว่า BDNF (Brain-Derived Neurotrophic Factor) น้ำตาลทำให้โดพามีนระดับสูง ส่งผลต่อการเสพติดในระยะยาวส่งผลต่อเนื่องถึงสุขภาพกายใจ

ดังนั้นการได้รับสารอาหารที่พอเหมาะคือส่วนสำคัญ โดยมีคำแนะนำจากนักโภชนาการถึงหลักการทานอาหารสั้นๆ เพื่อช่วยเน้นย้ำให้เกิดพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม คือ ทานผักทุกมื้อ โปรตีนกับแป้งทานแต่พอดี มีน้ำสะอาดดื่มตลอดวัน

2.การกินเพื่อตอบสนองความรู้สึก

“อยากมากกว่าความหิว” เคยเป็นบ้างไหมที่กินอย่าไรก็ไม่รู้สึกอิ่มใจแม้จะแน่นท้องมากแล้วก็ตาม เพราะยังไม่ได้กินของที่ “อยากกิน” เพราะความหิวกับความอยากแตกต่างกัน โดยความหิวจะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดกับร่างกายโดยเฉพาะกับระบบทางเดินอาหาร เช่น อาจมีความรู้สึกเคลื่อนไหว แสบร้อนเล็กน้อยที่ท้อง น้ำลายสอ หรือหากหิวมากอาจส่งผลระดับน้ำตาลและขาดสมาธิไม่มีแรง แต่ส่วนความอยากเป็นปรากฏการณ์ของร่างกายที่เกิดขึ้นในระบบโลหิต เช่น ใจเต้นเร็ว กระสับกระส่าย ทั้งยังหยุดคิดได้ยากรวมทั้งอาจมีความรู้สึกหงุดหงิด หากไม่ได้รับการตอบสนองความอยากนั้นๆ การได้กินสิ่งที่อยากกินจึงเป็นการตอบสนองร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน

3.การกินเพื่อตอบสนองความรู้สึกเชิงคุณค่า

อาทิ การให้รางวัลตนเอง การกินอาหารมูลค่าสูงเพื่อคุณค่าทางใจหลังจากทานอย่างเหน็ดเหนื่อยหรือทำสิ่งที่ตั้งเป้าไว้ได้อย่างสำเร็จราบเรียบ ในรูปแบบทางสังคม การสังสรรค์เพื่อฉลองคือสิ่งที่ทำกันมานาน คนจีนยุคโบราณกินฉลองกันในวันตรุษหลังเทศกาลเก็บเกี่ยวจบลง คนตะวันตกฉลองคริสต์มาสด้วยเหตุผลทางศาสนาและเพื่อขอบคุณตนเองที่ฝ่าฟันเรื่องราวตลอดปีที่กำลังจะผ่านพ้นไป ดังนั้นแล้วชาบู หมูกระทะ จึงไม่ต่างจากรางวัลแห่งการฉลองชัยชนะในการทำสิ่งเหน็ดเหนื่อยประจำวัน

4.การกินกับกิจกรรมทางสังคม

เพราะความสุขในมื้ออาหารอาจไม่ใช่เพียงเมนูที่เลือกทาน แต่ความสุขทางใจขึ้นอยู่กับหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ คนที่ไปกินด้วยดังคำที่ได้ยินหลายคนพูดทีเล่นทีจริง “กินอะไร ไม่สุขใจเท่ากินกับใคร” เป็นการยืนยันว่าคนร่วมโต๊ะ เรื่องที่พูดคุยกันบนโต๊ะเป็นสีสันร่วมกับอาหารที่กิน

แต่ในตรงกันข้าม “การกินที่ขาดความระมัดระวัง” อาจส่งผลต่อใจได้เช่นกัน

แต่ในตรงกันข้าม “การกินที่ขาดความระมัดระวัง” อาจส่งผลต่อใจได้เช่นกันกินมากไปสุขใจในระยะสั้นแต่ในระยะยาวอาจทุกข์ใจจากปัญหาของอาการด้านจิตใจหรือจากโรคทางกายตามมา

  • การกินตามความอยาก ส่งผลให้ร่างกายผลิตโดปามีน เกิดวงจรการติดพันและหยุดกินได้ยาก เพื่อตอบสนองทาอารมณ์หรืออาจเป็นการกินเพื่อลดความเครียด
  • แม้การกินเพื่อให้รางวัลอาจเป็นสิ่งที่ดี ทำได้ง่าย แต่ต้องระมัดระวังปริมาณที่มากเกินไป และมูลค่าของอาหารที่สูงเกินไปอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว
  • หากเชื่ออย่างมากว่า การกินอาหารร่วมกับผู้อื่นคือความสุข อาจทำให้เกิดทุกข์เมื่อต้องเฉลิมฉลองด้วยการทานอาหารเพียงลำพัง การได้ลิ้มลองรสชาติอาหารตามลำพังบ้าง อาจได้เปลี่ยนบรรยากาศการกินไปอีกแบบ

นรพันธ์ ทองเชื่อม : นักจิตวิทยาและที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิต เลิฟแคร์สเตชั่น