How to say ‘No’ เมื่อไม่อยากมีเพศสัมพันธ์

How to say ‘No’ เมื่อไม่อยากมีเพศสัมพันธ์

อธิบายเหตุผล:  ถึงแม้ว่าคู่ของเราจะต้อง “เคารพในการตัดสินใจ” ของเราอยู่แล้ว เราก็อาจอธิบายเหตุผลเพิ่มเติมว่าเพราะอะไรเราถึงยังไม่พร้อม เพื่อให้เขาเข้าใจความรู้สึกของเรามากขึ้น อาจบอกว่า  

“ฉันต้องการที่จะแต่งงานก่อน”

“ฉันรู้สึกว่าฉันยังไม่พร้อม ฉันยังเด็กเกินไป”

“ฉันอยากมั่นใจว่าความสัมพันธ์ของเรานั้นจริงจังก่อน”

“วันนี้ฉันเหนื่อยและเครียดมาก มันไม่ใช่ความผิดของเธอ แต่ไว้วันหลังได้ไหม”

“ฉันอยากแค่นอนดูหนังเรื่อยๆ เพราะวันนี้เป็นวันที่ไม่ค่อยดีสำหรับฉัน แต่มันไม่ใช่ความผิดของเธอนะ”

 

บอกเรื่องช่วงเวลา:  คู่ของเราอาจสงสัยว่า “ไม่พร้อม” ของเรานั้นมันยาวถึงเมื่อไร ดังนั้น เราอาจบอกคู่ไปเลยว่าในเวลาอื่นของวัน อีกวัน อีกสัปดาห์ อีกเดือน หรืออีกยาวๆ เป็นปี เพื่อให้เกิดความชัดเจน แต่หากรู้สึกว่าต่อให้นานเท่าไรก็ยังไม่พร้อม ก็สามารถบอกเขาได้ตรงๆ เช่นกัน 

“ไว้หลังจากที่งานฉันเสร็จได้ไหม”

“ฉันขอนอนให้เต็มอิ่มก่อนแล้วเราค่อยลองอีกทีได้ไหม”

“ไว้ประมาณเดือนสองเดือนนะ”

“ฉันคิดว่าฉันยังไม่พร้อม และจะเป็นแบบนี้ไปอีกนานเลย อาจเป็นปีๆ”

หากิจกรรมอย่างอื่นมาเชื่อมความสัมพันธ์: เมื่อเขาเข้าใจเราแล้ว เราก็ต้องพยายามเข้าใจคู่ด้วยเช่นกัน เราอาจพูดออกไปตรงๆ หรือตกลงกันว่าเรารู้สึกสบายใจถึงขั้นไหน เช่น การกอดหรือการจูบ และหาวิธีอื่นที่สามารถเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันได้เหมือนกัน เช่น การทำกิจกรรมร่วมกัน เล่นเกมด้วยกัน หรือดูหนังด้วยกัน โดยอาจใช้ประโยค เช่น “ฉันจริงจังกับเธอนะ แต่ตอนนี้ฉันยังไม่พร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์จริงๆ” ไปด้วย 

ขอให้เขาเคารพการตัดสินใจ: หากเราปฏิเสธไปตรงๆ และบอกเหตุผลแล้ว แต่เขาก็ยังเซ้าซี้ไม่เลิก เราอาจจะพูดไปว่า

“ฉันรู้สึกไม่โอเคและไม่สบายใจถ้าเธอไม่เคารพพื้นที่ของฉัน”

“เราคุยกันแล้วนะ ฉันอยากให้เธอเข้าใจการตัดสินใจและเหตุผลของฉัน ถ้าฉันพร้อม ฉันจะบอกเธอเอง”

หากเขายังไม่เคารพการตัดสินใจของเรา  เซ้าซี้ หรือ พูดซ้ำๆ และเรารู้สึกว่าเขายังทำให้รู้สึกกดดันหรือถูกบังคับอย่างต่อเนื่อง ต่อให้เขาจะไม่ใช้กำลังก็ตาม (Sexual coercion) เราสามารถออกมาจากสถานการณ์นั้นก่อน หรืออาจจบความสัมพันธ์นี้ลง เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณว่าเรากำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ (Toxic relationship) แต่ถ้าเขามีท่าทีที่จะใช้กำลัง ควรรีบออกมาจากสถานที่นั้นก่อนเลย เพราะในสหรัฐอเมริกา กว่า 51.1% ของผู้หญิงเคยถูกข่มขืนโดยคู่รักของตัวเอง 

“No one is required to have sex with someone else.” (Sexual coercion, 2019)

หากคิดว่าเรากำลังถูกล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual harassment) หรือกำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ (Toxic relationship) แนะนำให้ติดต่อศูนย์ช่วยเหลือต่าง ๆ โดยทางเราได้รวบรวมมาให้ ดังนี้

  • ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300
  • มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี สายด่วน 1134
  • มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ให้คำปรึกษาแก่ผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศและถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัว  0-2513-2889
  • องค์กร Shero Thailand เกี่ยวกับการต่อต้านความรุนแรงในครอบครัวและรณรงค์การลดวัฒนธรรมนิยมความรุนแรงในสังคมประเทศไทย: sherothailand.org หรือ www.facebook.com/SHeroThailand/
  • โครงการฮัก (The HUG project) ทำงานด้านการป้องกัน คุ้มครอง และฟื้นฟูเยียวยาเด็กจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศและการค้ามนุษย์: 053-920-588 หรือ connect@hugproject.org
  • มูลนิธิ SWING มูลนิธิเพื่อพนักงานบริการ ก่อตั้งเพื่อช่วยเหลือพนักงานขายบริการทางเพศชาย แต่เป้าหมายการช่วยเหลือนั้นเพื่อทุกเพศในสังคม: 081-626-6538

 

References:

Black, M. C., Basile, K. C., Breiding M.J., Smith, S. G., Walters, M. L., Merrick, M. T., Chen, 

J., Stevens, M. R. (2011). The National Intimate Partner and Sexual Violence Survey: 

2010 Summary Report. National Sexual Violence Resource Center. Retrieved 10 

February, 2022, from 

https://www.nsvrc.org/publications/NISVS-2010-summary-report 

Murray, S. H. (2018). 3 Ways Partners Can Turn Down Sex Without Hurt Feelings. 

Psychology Today. Retrieved 10 February, 2022, from 

https://www.psychologytoday.com/us/blog/myths-desire/201806/3-ways-partners-can-turn-down-sex-without-hurt-feelings 

Saying ‘no’ to sex. (n.d.). Planned Parenthood. Retrieved 9 February, 2022, from 

https://www.plannedparenthood.org/learn/teens/relationships/all-about-communication/saying-no-sex 

Sexual coercion. (2019). Office on Women’s Health. Retrieved 10 February, 2022, from 

https://www.womenshealth.gov/relationships-and-safety/other-types/sexual-coercion 

Sexual Consent. (n.d.). Planned Parenthood. Retrieved 10 February, 2022, from 

https://www.plannedparenthood.org/learn/relationships/sexual-consent 

มานิตา คิดนุนาม. (2021). เส้นทางสู่การช่วยเหลือ กรณีเหยื่อความรุนแรงในประเทศไทย. Retrieved 1 March, 2022, from https://www.thaiconsent.in.th/solution/roadtojustice01/ 

Content and artwork creator 

นางสาวณภัค ตันติจินดา โรงเรียนสาธิตนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Editor

นางสาวสุพิชฌาย์ อนุวงศ์วรเวทย์ คณะแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์