แนะนำวิธีการรักษาภาวะมีลูกยาก สำหรับผู้อยากมีลูกเพื่อเติมเต็มครอบครัว

เมื่อมีปัจจัยพร้อม หลายคู่ก็อยากมีลูก แต่ก็มีหลายสาเหตุที่ทำให้มีลูกยาก ซึ่งปัญหาภาวะมีลูกยาก สามารถรักษาได้ และมีหลายวิธีรักษาให้เลือกมากมาย

มีลูกยากไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไปแล้ว

สังคมในปัจจุบันนั้นคนส่วนใหญ่จะนิยมเริ่มสร้างครอบครัวเป็นของตนเองก็ต่อเมื่อมีการงาน การเงิน ที่มั่นคงแล้ว สิ่งนี้ย่อมส่งผลให้อายุของคู่สามีภรรยามากขึ้น ทำให้ร่างกายรวมถึงระบบสืบพันธุ์ไม่แข็งแรงเหมือนพวกมีอายุน้อย โดยเฉพาะอัตราการตั้งครรภ์ของฝ่ายหญิงจะเหลือน้อยลงเรื่อย ๆ เช่น

  • ช่วงอายุ 20 ปี อัตราตั้งครรภ์อยู่ที่ 25-30%
  • ช่วงอายุ 30 ตอนต้น อยู่ที่ 15-20%
  • ช่วงอายุ 30 ตอนปลาย อยู่ที่ 10-15%
  • ช่วงอายุ 40 ตอนต้น อยู่ที่ 5-8%
  • อายุ 45 ขึ้นไป อยู่ที่ 1% หรือน้อยกว่า

อย่างไรก็ตามการจะมีลูกยากหรือไม่นั้น สามารถให้แพทย์เป็นผู้ประเมิน พร้อมทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุ หาวิธีการรักษาให้กับคนที่อยากมีลูก และถึงแม้จะเกิดกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขสาเหตุของการมีลูกยากได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถตั้งท้องได้ เช่นกัน ดังนั้นเราจะมาศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเพื่อสร้างความเข้าใจยิ่งขึ้นให้กับคนที่อยากท้อง อยากได้ลูก

ภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีลูกยาก เป็นภาวะที่คู่สามีภรรยาอยากมีบุตรแต่ก็ไม่สามารถมีได้สักทีถึงแม้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมออย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์มาเป็นระยะเวลาหนึ่งก็ตาม ระยะเวลาที่กล่าวถึงนั้นขึ้นอยู่กับอายุของคู่สามีภรรยา เช่น ต่ำกว่า 35 ปี นับเวลาภายใน 1 ปี แต่หากมีอายุมากกว่า 35 ปีก็ให้นับที่เวลา 6 เดือน เป็นต้น 

ทำไมจึงเกิดภาวะมีบุตรยาก

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีลูกยากอาจเป็นได้จากฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง หรือทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยสาเหตุหลักของการมีลูกยากของทั้งเพศชายและเพศหญิง มีดังนี้

  • ปัญหาสุขภาพ
  • ความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์
  • โรคประจำตัวที่มีผลต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ และการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม
  • อายุที่มากขึ้นทำให้อวัยวะต่าง ๆ เริ่มเสื่อมถอย เช่น ภาวะไข่ไม่ตกในฝ่ายหญิง
  • ภาวะความเครียดที่เกิดขึ้น สุขภาพจิตที่ไม่แจ่มใส
  • มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคซิฟิลิส โรคหนองใน
  • ได้รับการรักษาบางประเภท เช่น การใช้รังสีรักษา การทำคีโม
  • การสูบบุหรี่จัด
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • การเสพสารเสพติด
  • ไม่ค่อยออกกำลังกายจนเกิดภาวะอ้วน หรือ มีน้ำหนักตัวมากกว่าหรือน้อยกว่ามาตรฐาน
  • กินอาหารไม่มีประโยชน์บ่อย ๆ ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

นอกจากนี้สาเหตุของการมีลูกยากของเพศชาย และเพศหญิงก็จะมีความแตกต่างเช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

สาเหตุภาวะมีบุตรยากของฝ่ายหญิง

อาการที่ส่งผลต่อการมีลูกยากสำหรับฝ่ายหญิงมีท่อนำไข่ตีบตัน, ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ, มีเนื้องอกในมดลูก, เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่,  มีประวัติเคยแท้ง และมูกไข่ตก, เป็นต้น

สาเหตุภาวะมีบุตรยากของฝ่ายชาย

อาการที่ส่งผลต่อการมีลูกยากสำหรับฝ่ายชายมีจำนวนอสุจิน้อย เคลื่อนที่ผิดปกติ, ท่อน้ำเชื้ออสุจิตีบตัน, อวัยวะเพศไม่แข็งตัว, และความผิดปกติในการหลั่ง เป็นต้น

ภาวะมีลูกยากแบบไม่ทราบสาเหตุ

สำหรับภาวะมีลูกยากที่ไม่สามารถอธิบายได้นั้นมักเกิดจากการที่ได้รับการตรวจประเมินจากแพทย์แล้ว ได้รับผลการตรวจออกมาที่แสดงว่าทุกอย่างเป็นปกติ เปอร์เซ็นต์ที่พบได้สำหรับกรณีแบบนี้มีประมาณ 25% ที่เกิดขึ้นคล้าย ๆ กันทั่วโลก 

ถึงแม้ว่าสาเหตุการมีลูกยากจะไม่ชัดเจนก็ตาม ทั้งไม่มีวิธีการรักษาที่แน่ชัด แต่วิธีการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ยังสามารถช่วยได้ในบางกรณี เช่น การทำ IVF หรือ การทำ ICSI เป็นต้น

วิธีการตรวจประเมินภาวะมีบุตรยาก

หากต้องการตรวจประเมินการมีลูกยาก อยากมีลูก แพทย์ผู้ดูแลและเป็นเจ้าของไข้จะได้ทำการตรวจทั้ง 2 ฝ่ายทั้งชาย และหญิงเพื่อหาสาเหตุ จะมีการซักประวัติและตรวจร่างกาย การมีเพศสัมพันธ์ของคู่สามีภรรยา

ปกติแล้วถ้าหากคู่สามีภรรยาที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเป็นอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ไม่มีการคุมกำเนิด เป็นระยะเวลานาน 1 ปี แต่ก็ยังไม่ท้อง ก็นับว่าเข้าข่ายของการมีลูกยาก

การตรวจประเมินภาวะมีบุตรยากในเพศชาย

แพทย์จะซักประวัติการตรวจน้ำเชื้ออสุจิ (ให้งดการหลั่งน้ำอสุจิ 2 – 7 วันก่อนมาตรวจ) หากพบว่ามีความผิดปกติก็จะมีการตรวจร่างกาย ตรวจอวัยวะเพศ ตรวจฮอร์โมน ตรวจพันธุกรรม ตรวจท่อลำเลียงน้ำเชื้อ

การตรวจประเมินภาวะมีบุตรยากในเพศหญิง

แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจภายใน ตรวจนับจำนวนไข่ ตรวจการตกไข่ อัลตราซาวด์ช่องคลอดเพื่อเช็กมดลูกและรังไข่เพื่อหาความผิดปกติท่อนำไข่ รังไข่ หรือมดลูก เจาะเลือดตรวจระดับฮอร์โมน

รักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีใดได้บ้าง

ปัจจุบันสำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีลูกยากไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลอีกต่อไปเพราะว่ามีวิธีการรักษาภาวะมีลูกยากอยู่หลายรูปแบบให้ได้เลือก แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้วิธีใด สมควรที่จะต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจสุขภาพพร้อมประเมินหาสาเหตุที่แน่นอน จะได้เลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมให้กับคนที่อยากได้ลูก

วิธีรักษาภาวะมีลูกยากที่จะนำมากล่าวถึงในที่นี้ได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ หลังจากเห็นว่าวิธีรักษาแบบธรรมชาติไม่ค่อยจะได้ผลลัพธ์ที่คนอยากท้องต้องการ วิธีธรรมชาติจะเป็นการที่คู่สามีภรรยามีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ และใช้การนับวันไข่ตกเพื่อเพิ่มโอกาสให้คนอยากมีบุตรมากขึ้น ทางการแพทย์ได้พัฒนาวิธีอยากมีลูก ดังต่อไปนี้

การทำไอยูไอ IUI การฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก (Intra-Uterine Insemination)

วิธีการนี้จะต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย โดยที่ฝ่ายหญิงนั้นทางแพทย์จะขยายปากมดลูกเพื่อทำความสะอาดด้วยสำลีชุบน้ำเกลือ ขณะที่แพทย์ก็จะได้ทำการคัดเลือกน้ำเชื้ออสุจิจากฝ่ายชายที่สมบูรณ์ แข็งแรง ในปริมาณที่พอเหมาะมาใส่ในหลอดฉีดยา แล้วจึงนำมาฉีดเข้าไปที่ปากมดลูกฝ่ายหญิง

การทำ IVF การทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization)

วิธีนี้ค่อนข้างเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบันเพราะใช้เวลาทำไม่นาน การทำ IVF เป็นการรักษาอาการผู้มีลูกยากโดยใช้หลักการที่เรียกว่าการปฏิสนธินอกร่างกาย ซึ่งก็คือการที่แพทย์ฉีดกระตุ้นรังไข่ แล้วเจาะนำไข่ที่สมบูรณ์มาจากฝ่ายหญิงด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ แล้วนำมาผสมกับน้ำเชื้ออสุจิของฝ่ายชายในหลอดทดลอง หรือจานแก้วเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ การทำวิธีนี้ไม่ใช่การปฏิสนธิแบบธรรมชาติที่เกิดขึ้นในมดลูก 

หลังจากเวลาผ่านไปประมาณ 48 ชั่วโมงก็จะเกิดเป็นตัวอ่อน ซึ่งแพทย์จะได้ทำการนำตัวอ่อนอายุ 3-5 วันใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อที่จะได้ฝังตัว และเจริญเติบโตเป็นทารกในครรภ์ต่อไป

การทำอิ๊กซี่วิธี ICSI (Intracytoplasmic sperm injection)

วิธีนี้คล้ายกับการทำ IVF เพียงแต่โอกาสที่จะตั้งครรภ์มีสูงกว่ามาก เพราะแพทย์จะคัดเลือกใช้เฉพาะเชื้ออสุจิของฝ่ายชายที่แข็งแรง สมบูรณ์ที่สุดเท่านั้น จากนั้นจึงจะนำไปฉีดผสมกับไข่จากฝ่ายหญิงที่ได้ทำการคัดเลือกไว้ก่อนแล้ว หลังจากนั้นก็จะใช้น้ำยาพิเศษเพื่อช่วยกระตุ้นการปฏิสนธิและคอยดูแลในห้องปฏิบัติการเป็นพิเศษ

เมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้วเกิดเป็นตัวอ่อนขึ้นมาก็จะทำการนำตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อฝังตัวและเจริญเติบโตกลายเป็นทารกต่อไปเหมือนกับการทำเด็กหลอดแก้ว โดย ICSI เป็นวิธีการแก้ปัญหาผู้มีลูกยากที่มีโอกาสสำเร็จมากที่สุด

การฝากไข่ (Oocyte Cryopreservation หรือ Egg Freezing)

เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับคนที่ยังไม่พร้อมมีลูก หรือมีลูกยาก เพราะวิธีนี้จะช่วยรักษาคุณภาพของเซลล์ไข่ที่มีสุขภาพดีที่นำออกมาจากรังไข่แล้วไปแช่แข็งที่อุณหภูมิ – 196 องศาเซลเซียส เมื่อใดก็ตามที่ผู้ฝากไข่พร้อมและอยากมีลูก แพทย์จะทำการนำไข่ออกมาเพื่อทำการปฏิสนธิกับเชื้ออสุจิของฝ่ายชาย

การรักษาด้วยการใช้ยา

ยาที่นำมาใช้ในการรักษาก็คือยาที่ช่วยกระตุ้นการตกไข่ ทั้งช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่เช่นกัน ยาที่กล่าวถึงนี้ คือ โคลมิฟีน, ฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน เป็นต้น หลังจากกินยาแล้วก็จะมีการนับวันที่พร้อมสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มโอกาสให้คนอยากท้อง

คำถามที่พบบ่อย

ภาวะมีบุตรยากถือว่าเป็นกรรมพันธ์หรือไม่ ?

ภาวะมีลูกยากไม่อาจนับว่าเป็นกรรมพันธุ์ แต่ว่าความผิดปกติทางพันธุกรรมอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้มีลูกยากก็เป็นได้

ผนังมดลูกหนา มีลูกยากจริงไหม ?

ผนังมดลูกควรมีความหนาที่เหมาะสม คือ ประมาณ 8-10 มิลลิเมตร หากหนาไปหรือบางไปจะส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการมีลูกยากได้ ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข

มีลูกยากแก้ไขได้ไหม ?

สามารถขอคำแนะนำถึงวิธีรักษาภาวะมีลูกยากจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ แพทย์จะทำการตรวจ ประเมิน รักษาแตกต่างกันไปในแต่ละคนไข้ เช่น การใช้ยา การฉีดฮอร์โมน การผสมเทียม และการทำเด็กหลอดแก้ว เป็นต้น

ข้อสรุป

สำหรับครอบครัวที่พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการมีลูกยากไม่ควรที่จะรู้สึกอาย เป็นเรื่องปกติที่จะเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะได้หาสาเหตุที่มีลูกยาก วิธีในการรักษาสำหรับคนอยากได้ลูก ที่ต้องการสร้างครอบครัวสมบูรณ์ มีพร้อมพ่อแม่ลูก สิ่งที่สำคัญอีกอย่างและไม่ควรละเลยก็คือการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

การดูแลตนเองไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายจะช่วยให้สามารถจัดการเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพได้ดี นอกเหนือจากสภาพแวดล้อม และสังคมที่เป็นปัจจัยส่วนรวมที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแล จึงกล่าวได้ว่าปัญหาภาวะมีลูกยากเป็นเรื่องที่จัดการได้หากมีสุขภาพที่ดีและน้อมรับคำแนะนำวิธีรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ