การเปิดเผยความโน้มเอียงทางเพศของตนเองในหมู่ชายรักชายเป็นส่วนหนึ่งใน พัฒนาการอัตลักษณ์ทางเพศ (Savin-Williams, 1996 อ้างถึงใน Newman & Newman, 2003) ช่วงที่มีการเปิดเผยความน้มเอียงทางเพศนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญเนื่องจากในชายรักชาย การเปิดเผยความโน้มเอียงทางเพศจะต้องเผชิญกับความยากลำบากในหลากหลายรูปแบบ มี งานวิจัยที่ศึกษาและพบวชายรักชายมีความกลัวที่จะถูกประเมินในทางลบ และมีความวิตกกังวล จากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในระดับสูงกว่าชายรักหญิง และมีการเห็นคุณค่ในตนเองต่ำกว่า ชายรักหญิง (Pachankis & Goldfried, 2006) ซึ่งลักษณะทางจิตวิทยาดังกล่าวอาจมีความ เกี่ยวข้องกับการไม่กล้าเปิดเผยตนเองของชายรักชายได้ในทางหนึ่ง ข้อค้นพบนี้สอดคล้องกับ แนวคิดที่ว่าชายรักชายมักจะเผชิญกับภาวะของความรู้สึกด้อยค่าจากการรักเพศเดียวกัน (Internalized Homophobia) ซึ่งเป็นผลมาจากการซึมซับอคติทางลบที่สังคมภายนอกมีต่อบุคคล รักเพศเดียวกัน (Shidlo, 1994 อ้างถึงใน Zimbardo & Gerric, 1996) โดยความรู้สึกด้อยค่าจาก การรักเพศเดียวกันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการซึมเศร้า (depression) และความวิตกกังวล (anxiety) ในชายรักชาย (Newcomb & Mustanski, 2010) ทั้งนี้ชายรักชายที่ได้รับเอาอคติทาง สังคมเข้ามาด้วยความรู้สึกว่าตนไม่มีคุณค่า ก็อาจไปขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคต่อการเปิดเผยความโน้มเอียงทางเพศของบุคคลได้เช่นเดียวกัน
สนับสนุนโดย สล็อตxo
ความยากลำบากต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของชายรักชาย มี ข้อสนับสนุนเพิ่มเติมจากงานวิจัยแบบผสานวิธีว่า ความยากลำบากในระดับสูงจากประสบการณ์ การเปิดเผยความโน้มเอียงทางเพศของตนเองนั้น มีความสัมพันธ์ทางลบกับการพัฒนาตัวตนของ ชายรักชาย (King & Noelle, 2004) และในขณะที่ยังไม่ปิดผยความโน้มเอียงทางเพศของตนเอง ออกไปนั้น ชายรักชายบางคนจะมีการล่าวเท็จเพื่อปกปิดความโน้มเอียงทางเพศที่แท้จริงของ ตนเอง พยายามทำตัวให้ดูเป็นชายรักหญิง และจะมีความรู้สึกแปลกแยกและโดดเดี่ยว คือ รับรู้ว่า ตนแตกต่างจากผู้อื่น (Flower & Buston, 2001) อย่างไรก็ตาม ชายรักชายจะเผชิญกับความ ยากลำบากเพิ่มมากยิ่งขึ้น เมื่อกำลังตัดสินใจจะเปิดเผยความโน้มเอียงทางเพศของตนเองกับครอบครัวโดยเฉพาะกับพ่อแม่ ซึ่งในงานวิจัยเชิงคุณภาพของ Flower และBuston (2001) ที่พบว่า การเปิดเผยความโน้มเอียงทางเพศของตนเองกับคนแปลกหน้าเป็นไปได้ง่ายกว่าการเปิดเผย ตนเองกับบุคคลอันเป็นที่รัก (เช่น พ่อแม่) เนื่องจากการเปิดเผยตนเองดังกล่าวอาจทำร้ายจิตใจ ของพวกเขาได้ และแม้ว่าชายรักชายบางส่วนจะฟันฝ้ความยากลำบากในจิตใจออกมาได้ จน สามารถเปิดเผยตนเองกับพ่อแม่ออกไปได้สำเร็จ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือการตอบสนองทางลบ จากพ่อหรือแม่ (Flower & Buston, 2001; LaSala, 2000 อ้างถึงใน Newman & Newman, 2003) เช่น ถูกพ่อแม่ปฏิเสร (LaSala, 2000 อ้างถึงใน Newman & Newman, 2003) ถูกกีดกัน ถูกข่มขู่ ว่าจะไล่ออกจากบ้านหากเป็นชายรักชาย (Flower & Buston, 2001) ซึ่งผลทางลบดังกล่าวจะ รุนแรงขึ้นโดยฉพาะอย่างยิ่งชายรักชายที่อยู่ในครอบครัวที่ขาดการเชื่อมต่อ ไม่ยืดหยุ่น และเผด็จ การ ตามแนวคิดเรื่องพลวัตครอบครัว (Willoughby, Malik,&Lindah, 2006) ส่วนชายรักชายที่ยัง ไม่เปิดเผยตนเองต่อครอบครัวนั้น มีความกลัว กังวลใจและไม่กล้าเปิดเผยตนเองกับบุคคลใน ครอบครัวของตน แต่จะเลือกเข้าหากลุ่มบุคคลรักเพศเดียวกัน (Weatherburn, 1992 อ้างถึงใน Newman & Newman, 2003) และหาทางออกโดยการปกปิดความโน้มเอียงทางเพศของตนเอง ต่อครอบครัวแทนการเปิดใจพูดคุยกัน (Newman &. Newman, 2003) ชายรักชายบางคนที่ไม่กล้า เปิดเผยตนเองกับพ่อแม่ ได้ระบุว่าตนรู้สึกสิ้นหวัง ไม่อยากจะทำอะไรต่อไป เนื่องจากรับรู้ว่าพ่อแม่ รังเกียจบุคคลที่เป็นชายรักชาย (Flower & Buston, 2001) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การปกปิดความโน้ม เอียงทางเพศของตนเองกับครอบครัวในชายรักชายนั้น เป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญและน่าสนใจ
หน้าแรก การเปิดเผยความโน้มเอียงทางเพศ
การเปิดเผยความโน้มเอียงทางเพศ
Your Answer