Stealthing คือ อะไร?
การแอบถอดถุงยางอนามัยระหว่างที่มีการร่วมเพศสัมพันธ์โดยผู้ที่ร่วมเพศสัมพันธ์นั้นไม่ได้รับรู้ หรือ ไม่ยินยอมให้ถอดถุงยางอนามัย ซึ่งการ stealthing นั้นอาจเป็นรูปแบบหนึ่งของการข่มขืน การล่วงละเมิดทางอารมณ์ และ การล่วงละเมิดทางเพศ
อะไรบ้างที่ถือว่าเป็นการ Stealthing?
การ stealthing นั้นไม่ได้รวมแค่การแอบถอดถุงยางอนามัยระหว่างที่มีการร่วมเพศสัมพันธ์ แต่ยังรวมถึงการทำลายให้ถุงยางอนามัยนั้นชำรุดหรือเสียหาย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผู้ที่ร่วมเพศสัมพันธ์ด้วย
จะรู้ได้อย่างไรว่ามีการ stealthing เกิดขึ้น?
- มีน้ำอสุจิรั่วออกจากช่องคลอดหลังเพศสัมพันธ์
- ความรู้สึกของอวัยวะเพศนั้นเปลี่ยนแปลงไป หรือ ไม่รู้สึกเหมือนกับตอนใส่ถุงยางอนามัยในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
- มีรูอยู่บนกระดาษห่อถุงยางอนามัย
- มองเห็นถุงยางอนามัยอยู่บนเตียง หรือที่อื่น แทนที่จะสวมอยู่บนอวัยวะเพศขณะมีเพศสัมพันธ์
- เมื่อคู่ร่วมเพศสัมพันธ์ได้แสดงประสงค์ที่จะถอดถุงยางอนามัย แต่ไม่ได้รับการยินยอม และ พยายามที่จะเปลี่ยนท่าทางให้ไม่สามารถมองเห็นว่ายังสวมใส่ถุงยางอนามัยอยู่
ทำไม stealthing จึงเกิดขึ้น?
เหตุผลบางประการที่ผู้กระทำการ stealthing มักจะให้:
- ผู้กระทำผิดมักจะให้เหตุผลว่า “มีการมีเพศสัมพันธ์รู้สึกดีกว่าถ้าไม่มีถุงยางอนามัย”
- ผู้กระทำผิดต้องการทำให้ที่ผู้ที่รวมเพศสัมพันธ์นั้นตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นการกระทำที่เปรียบเสมือนเหมือนการชักใยเพื่อบังคับขู่เข็ญและทำให้ที่ผู้ที่ร่วมเพศนั้นยังคงอยู่ในความสัมพันธ์ที่มีอยู่
- ผู้กระทำผิดต้องการที่จะรู้สึกว่าตนมีอำนาจเหนือกว่าที่ผู้ที่รวมเพศสัมพันธ์
- ผู้กระทำผิดรู้สึกว่าพวกเขามีสิทธิ์ที่จะหลั่งในคู่ของพวกเขาโดยไม่คำนึงถึงการยินยอม
วิธีการป้องกัน stealthing
การป้องกัน stealthing ที่ดีที่สุดคือการนำถุงยางอนามัยมาเองและอาจตรวจสอบเสมอว่าที่ผู้ที่รวมเพศสัมพันธ์นั้นไม่มีการแอบถอดถุงยางอนามัยระหว่างที่มีการร่วมเพศ หรือ เปิดไฟไว้หากต้องการยืนยันว่าผู้ที่รวมเพศสัมพันธ์ยังสวมถุงยางอนามัยอยู่
ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ได้เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรืออยู่กับใครก็ตาม เรามีสิทธิ์ในร่างกายของตนเอง และไม่ควรทำอะไรที่ไม่สบายใจ
สิ่งที่ควรทำหลังการเกิด stealthing
หากสงสัยว่ามีการแอบถอดถุงยางอนามัยระหว่างที่มีการร่วมเพศสัมพันธ์ ควรได้รับการเข้าตรวจทางการแพทย์เพื่อที่จะยืนยันให้ทราบอย่างแน่นอนว่ามีการติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ การตั้งครรภ์หลังเพศสัมพันธ์หรือไม่
มีหลายหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ถูกขมขื่น หรือ ล่วงละเมิดทางเพศ โดยสามารถติดต่อศูนย์ช่วยเหลือสังคม OSCC โทร.1300 และเนื่องจาก stealthing ถือว่าเป็นการขมขื่น สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแจ้งความได้ที่: https://www.lovecarestation.com/ทำอย่างไรเมื่อถูกข่มขื/
อ้างอิง
- Connolly, J. (2017, April 25). ‘Stealthing’ – what you need to know. BBC News. https://www.bbc.com/news/newsbeat-39705734.
- National Domestic Violence Hotline. (2020, September 26). What is stealthing? love is respect. https://www.loveisrespect.org/resources/what-is-stealthing/.
- Teen Health Source. (2020, December 17). What’s the deal with Stealthing? Teen Health Source. https://teenhealthsource.com/blog/whats-the-deal-with-stealthing/.
จัดทำโดย
สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย (IFMSA-Thailand)
Content creator
นางสาว สุพิชณาย์ อนุวงศ์วรเวทย์ นักศึกษาเเพทย์ชั้นปีที่ 2 วิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
Editor
-น.ส.มินนี่ ผดุงเกียรติสกุล นักศึกษาเเพทย์ชั้นปีที่ 2 โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Infographic
-น.ส.ประภัสสร แจ่มประเสริฐ นักศึกษาเเพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช